ความรู้ความเข้าใจในการให้บริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม

ผู้แต่ง

  • กิติยา โต๊ะทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • นิตยา ทนุวงษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มนัส วงศ์เสงี่ยม ข้าราชการบำนาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี

คำสำคัญ:

การให้บริการสาธารณสุข, วิถีอิสลาม, ความรู้ความเข้าใจ, ผู้บริหารโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “บริการสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับ ชาวไทยมุสลิม: ช่องว่างแห่งระบบบริการสาธารณสุขไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจของผู้บริหารโรงพยาบาลในการให้บริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 21 คนซึ่งเป็นตัวแทนผู้บริหารของโรงพยาบาลเป้าหมาย 8 แห่ง ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์ เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบโดยใช้สถิติร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลจาก การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหา พร้อมนำเสนอข้อค้นพบ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความรู้ความเข้าใจในการให้บริการสาธารณสุข ที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามโดยภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ (58.39%) และยังมีความรู้ความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนในหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเรื่องอาหารฮาลาลสำหรับผู้ป่วย และสถานที่อาบน้ำละหมาด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความรู้ความเข้าใจในระดับสูงต่อการให้บริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ด้านโภชนาการ อาหารและยา (84.52%) และ (2) ด้านสถานที่อาบน้ำละหมาดและสถานที่ ละหมาด (84.52%) มีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ด้านการ บำบัดรักษาโรคและการตรวจร่างกาย (74.28%) และ (2) ด้านการบริการสุขภาพผู้ป่วยในระยะ สุดท้ายของชีวิต (79.05%) แต่มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับต่ำใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ด้านการ วางแผนครอบครัว (26.19%) (2) ด้านการถือศีลอด (30.48%) (3) ด้านงานอนามัยแม่และเด็ก การบริจาคเลือด และการเยี่ยมเยียนผู้ป่วย (38.10%) และ (4) ด้านการออกกำลังกาย (50.00%)

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2551). คู่มือการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนมุสลิม สำหรับผู้นำประจำมัสยิด. สงขลา: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

การียา ยือแร, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง, และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2553). การออกกำลังกายตามหลักศาสนาอิสลามในกลุ่มแม่บ้านจังหวัดปัตตานี. วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 5(9), 83.

กิติยา โต๊ะทอง, นิตยา ทนุวงษ์ วงศ์เสงี่ยม, และมนัส วงศ์เสงี่ยม. (2560). บริการสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับชาวไทยมุสลิม: ช่องว่างแห่งระบบบริการสาธารณสุขไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

กิติยา โต๊ะทอง, นิตยา ทนุวงษ์ วงศ์เสงี่ยม, และมนัส วงศ์เสงี่ยม. (2561). ปัญหาและความต้องการในการรับบริการสาธารณสุขตามวิถีอิสลาม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(2), 102-116.

ฏอฮา อับดุลเลาะห์. (2560). มารยาทในการเยี่ยมผู้ป่วย. สืบค้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.islammore.com/main/content.php/siteadmin/sendtofriend.php?id=1699

นริสา สะมาแอ, กิตติกร นิลมานัต, และวราภรณ์ คงสุวรรณ. (2556). ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาในไอซียู. วารสารสภาการพยาบาล, 28(4), 31-43.

นูรฮายาตี สะอิ และอับดุลเลาะ การีนา. (2558). ทัศนคติการบริจาคโลหิตของมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 5(9), 111-121.

ปิติ ศรีแสงนาม. (2555). บทความและบทวิเคราะห์ AEC: จะเป็น ASEAN Medical Hub ได้ไทยต้องเข้าใจวิถีอิสลาม. สืบค้นเมื่อมกราคม 2560, จาก http://www.thai-aec.com/296#ixzz4 WqcFg9AU

มุหัมหมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์. (2553). การละหมาดของบุคคลที่ได้รับการผ่อนผัน (ดานียา เจะสะนิ, ผู้แปล). สืบค้นเมื่อธันวาคม 2560, จาก https://islamhouse.com/th/

ยูซูฟ นิมะ และสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. (บ.ก.). (2551). การแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์. สืบค้นเมื่อกันยายน 2556, จาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378

สถาบันอาหารฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2561). อาหารมุสลิมกับอาหารฮาลาล. สืบค้นเมื่อตุลาคม 2561, จาก http://www.halinst.psu.ac.th/th/knowledge-th/halalarticle-th/467-2015-02-12-02-42-07.html

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2561). มาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อตุลาคม 2561, จาก http://www.acfs.go.th/halal/general.php

สำนักจุฬาราชมนตรี. (2561). คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี: คำวินิจฉัยที่ 10/2556 เรื่องการถ่ายเลือดและการบริจาคเลือด. สืบค้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2560, จาก www.skthai.org/th/pages/6799

สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2555). การพยาบาลในความหลากหลายทางวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะพยาบาลศาสตร์. สืบค้นเมื่อตุลาคม 2556, จาก http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/?name=knowledge&file=readknowledge&id=19

อรุณ บุญชม. (2549). การทำแท้ง. วารสารสมาคมแพทย์มุสลิม พ.ศ. 2548-2549, 41-60.

อัสมัน แตอาลี. (2552). อาหารฮาลาลในบทบัญญัติอิสลาม. เอกสารประกอบการบรรยาย ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลปัตตานี. สืบค้นเมื่อธันวาคม 2560, จาก https://d1.islamhouse.com//data/th/ih_articles/th_asman_atemah_halal_fi_syariat_alislam.pdf

Anderson, LM., Scrimshaw, SC., Fullilove, MT., Fielding, JE., and Normand, J. (2003). Culturally competent healthcare systems. A systemic review. Am J Prev Med, 24(3), 68-79.

Bloom, BS. (1986). Learning for mastery: Evaluation comment. Los Angeles: University of California, Center for the Study of Instruction Program.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2019