การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง และ 2) ศึกษาสภาพปัญหาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 346 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง ผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านการฝึกอบรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 แห่ง ล้วนให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมบุคลากรมาก ด้านการศึกษา การส่งบุคลากรศึกษาต่อนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถให้ทุนแก่บุคลากร เพื่อศึกษาต่อได้เนื่องจากข้อกำหนดในระเบียบราชการ ด้านการพัฒนา ในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่มีลักษณะของการทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ด้านการเรียนรู้ องค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดระยองมีลักษณะ การวินิจฉัยสั่งงานตามระดับชั้นการบังคับบัญชาเป็นหลัก ส่วนผลจากแบบสอบถาม พบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยปานกลางกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในจังหวัดระยอง (X ̅ = 3.24) 2) สภาพปัญหาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ 1) ปัญหาการย้ายกลับภูมิลำเนาของบุคลากร 2) ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรตำแหน่งที่ สำคัญ ๆ 3) ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) ปัญหาระเบียบกฎหมาย ที่ไม่เอื้อในการศึกษาต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 5) ปัญหาการจัดอบรมโดยหน่วยงาน ภายนอกซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานจริง
References
จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_58.pdf
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2560, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.
พระเอกราช กิตติธโร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2555). แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วิภากร โฆษิตานนท์. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารจันทรเกษมสาร, 21(41), 39-48.
สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ (ม.ป.ป.) โครงการศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลการถ่ายโอนงานวาง/ปรับปรุงผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2560, จาก http://eservices.dpt.go.th/eservice_1/subsites/other/subcsp/2.html
สำนักงานข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2561). จังหวัดระยอง บูรณาการกับทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาประชากรแฝงภายในจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จาก http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/TNSOC6107210010006
สำนักงานคลังจังหวัดระยอง. (2559). รายงานสภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2560, จาก http://www.cgd.go.th/cs/ryg/ryg/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88.html
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดระยอง. (2558). ข้อมูลบุคลากรในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง. ระยอง: สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดระยอง.
สุจิตรา ธนานันท์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (พ.ศ.2558-2562). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561, จาก http://www.rayong-pao.go.th/home/download/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C(2)/PlanYuttasart_58-62.pdf
อุดม ทุมโฆสิต (2553). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่: บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Jump, N. (1978). Psychometric theory. (2nd Ed.). New York: McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว