รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สิริพร บุญพา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • โกศล มีคุณ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นรา สมประสงค์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารการพัฒนา, ความพอเพียง, ปัจจัยเชิงสาเหตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาความพอเพียง และ พัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียน โดยใช้วิธี การวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบวัดตัวแปร 11 แบบวัด เป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .731 ถึง .899 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐาน และ สถิติอ้างอิง โดยสถิติ อ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คือ กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และ/หรือกลุ่มตัวแปร จิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียนได้ร้อยละ 39.6 และ อธิบายพฤติกรรมพอเพียงได้ร้อยละ 34.6 ถึง 37.8 โดยตัวแปรอธิบายสำคัญ คือ การมีวินัยในตน ในการปฏิบัติอย่างพอเพียง การได้รับการสนับสนุนทางสังคมให้พอเพียง ความเชื่ออำนาจในตน ทัศนคติต่อความพอเพียง บรรยากาศโรงเรียนแบบพอเพียง และ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน 2) รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงด้วยการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุ ของการพัฒนาความพอเพียงตามวิธีการทางจิตพฤติกรรมศาสตร์ภายใต้การบริหารทรัพยากร (4M) ด้วยวงจรคุณภาพ (P-D-C-A) ของ Deming รูปแบบดังกล่าวผ่านเกณฑ์ความเป็นไปได้ ในการนำไปปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยรายด้านตั้งแต่ ร้อยละ 90.00 ถึง 92.14 ค่าเฉลี่ยโดยรวม ร้อยละ 90.89 (ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70/75)

References

กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2561). รายงานสถิติการศึกษาปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2557). การวิจัยเพื่อสร้างแบบวัดความเชื่ออำนาจในตนทั่วไปและเฉพาะกิจ เพื่อใช้กับวัยรุ่นไทยและการประเมินคุณลักษณะของคะแนนจากแบบวัด. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 11(2), 121-189.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2553). ผลสำเร็จของการพัฒนาพฤติกรรมครูคณิตศาสตร์ ด้วยการฝึกจิตลักษณะและทักษะแบบบูรณาการ: หลักฐานจากงานวิจัยสองขั้นตอน. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 7(1-2), 66-109.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2556). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ: แบบวัดทั่วไปและแบบวัดเฉพาะกิจและการประเมินคุณภาพจากการใช้. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 11(2), 189-131.

นีออน พิณประดิษฐ์. (2557). วิจัยระบบดัชนีความไว้วางใจสังคมอย่างฉลาดของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุสาสตร มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปราณี จ้อยรอด. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ภาวนา ประมนต์. (2555). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมการวางแผนชีวิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561) ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก 13 ตุลาคม 2561.

ฤกษ์ชัย คุณูปการ. (2553). ผลการฝึกอบรมทางจิตพฤติกรรมศาสตร์ที่มีต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยด้านสิทธิและหน้าที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2552). การรับรู้สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาและลักษณะส่วนบุคคลที่เอื้อต่อการเป็นอาสาสมัครอย่างยั่งยืนในนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press.

Costa, A.L. & Kallick B. (2004). Assessment Strategies for self-directed Learning, Thousand Oaks, CA: Corwin Press/Sage Publications.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analysis using G*power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149–1160. Retrieved May 15, 2018, from https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149.

Magnusson, D. & Endler, N.S. (1977). Personality at the crossroad: Current issues in interactionism psychology. NewJersey: LEA Plublishers.

Nation, M., Crusto, C., Wandersman, A., Kumpfer, K. L., Seybolt, D., Morrissey-Kane, E., & Davino, K. (2003). What works in prevention principles of effective prevention programs. American Psychologist, 58(6/7), 449-456.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020