การตัดสินใจที่จะประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของเจนเนอเรชัน Y ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • พรรัตน์ แสดงหาญ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, สตาร์ทอัพ, เจนเนอเรชัน Y, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจที่จะประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ และปัจจัยเชิงสาเหตุในการตัดสินใจที่จะประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของเจนเนอเรชัน Y ในเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยสำรวจความคิดเห็นจากนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ของสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการสอนด้านการบริหารจัดการ ที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตัดสินใจจะทำงาน ในภาคเอกชนหลังสำเร็จการศึกษา และตัดสินใจทำงานอื่นก่อนเพื่อให้มีประสบการณ์ จากนั้น จึงจะประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ ส่วนปัจจัยเชิงสาเหตุในการตัดสินใจประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ เป็นไปตามแนวคิดโมเดลการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบด้วยการรับรู้ถึงความต้องการของ ตัวเองในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ ทักษะและความสามารถในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ ความพร้อมในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ และมีปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจ สตาร์ทอัพ ที่ประกอบด้วยการให้ความรู้และการให้คำปรึกษาของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการเป็น ผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ และภาพลักษณ์ของสตาร์ทอัพ

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ปฏิรูปกระทรวงวิทย์ฯ จัดทัพกระทรวงใหม่ ตอบโจทย์ Thailand 4.0. [ข่าว] สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/main/th/34-news/news-gov/7355-newministry.

โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2561). กิจกรรม Startup Thailand League 2018. [ข่าวกิจกรรม] สืบค้นจาก http://www.startup.su.ac.th/?page_id=203.

จีรนันท์ ไวยศรีแสง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชัยวัฒน์ ใบไม้. (2560). สตาร์ทอัพ: นิยามความสำคัญ และแนวทางการวิจัย. วารสารนักบริหาร, 37(2), 10-21.

ณัฐนัย ตรีเนตรสัมพันธ์ และ สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน. (2559). การพัฒนาโมเดลธุรกิจด้วยวิธีการลีนสตาร์ทอัพ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 39(3), 337-351.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของ เจนเนอเรชันวายและแรงจูงใจในการทำงาน: มุมมองระหว่างเจนเนอเรชันต่าง ๆ ในองค์การ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(3), 1-25.

นพอนันต์ เพียรมั่นคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกอาชีพของนักศึกษาสาขาการจัดการการบินสถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 (หน้า 24-38). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานสรุปโครงการศึกษาวิจัย THAILAND ISO STARTUP PROFILE. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

ศิริวรรณ ไตรสรลักษณ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีประทุม วิทยาเขตชลบุรี (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีประทุม, ชลบุรี.

Autio, E.,Yli-Renko., & Salonen, A. (1997). International growth of young technology based firms: A resource-based network model. Journal of Enterprising Culture, 5(1), 57-73.

Barbosa, S.D., Fayolle, A. & Smith, B.R. (2019). Biased and overconfident, unbiased but going for it: How framing and anchoring affect the decision to start a new venture. Journal of Business Venturing, (in Press).

Gabrielsson, J. & Polits, D. (2011). Career motives and entrepreneurial decision-making: Examining preferences for causal and effectual logics in the early stage of new

ventures. Small Business Economics, 36, 281-298.

Lee, J, y. (2014). Seven hundred days of startup: A day in the life of a medical student in silicon valley, Academic Psychiatry, 38(1), 52–54.

Mansoori,Y., & Lackéus, M. (2019). Comparing effectuation to discovery-driven planning, prescriptive entrepreneurship, business planning, lean startup, and design thinking, Small Business Economics, [Reseach} Retrieved from https://doi.org/10.1007/s11187-019-00153-w.

Nabi, G., Holden, R., & Walmsley, A. (2006). Graduate career-making and business start-up: A literature review. Education and Training, 48(5), 373-385.

Sarasvathy, S.D. (2001). Causation and effectuation: Toward a theoretical shift from economic inevitability to entrepreneurial contingency. Academy of Management Review, 6(2), 243-288.

Shapero, A. and Sokol, L. (1982). The social dimension of entrepreneurship, in Kent, C.A., Sexton, D.L. & Vesper, K.H. (Eds.): Encyclopedia of entrepreneurship, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, New Jersey, pp.72–90.

Swamidass, P.M. (2013). University startups as a commercialization alternative: Lessons from three contrasting case studies. The Journal of Technology Transfer, 38(6), 788–808.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020