การจัดการร้านค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • วริน วัฒนมะโน หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อรไท ชั้วเจริญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การจัดการร้านค้าปลีก, การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า, ร้านค้าปลีก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการของร้านค้าปลีก และ 2) ศึกษา ความสัมพันธ์การจัดการร้านค้าปลีกกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล จำนวน 424 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA ) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย เพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ที่ร้อยละ 76.2 อายุ อยู่ระหว่าง 31–40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ระหว่าง 10,001–30,000 บาท ในภาพรวมการจัดการของร้านค้าปลีก มีระดับความสำคัญ ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศต่างกันส่งผลให้ พฤติกรรมภายหลังการซื้อในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่แตกต่างกัน ส่วนด้าน ระดับการศึกษา และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันส่งผลให้การรับรู้ถึงความต้องการหรือ ปัญหา และการประเมินทางเลือกในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแตกต่างกัน อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า การจัดการร้านค้าปลีก มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกในภาพรวม (r = .430) แยกรายด้าน การจัดการร้านค้าปลีกมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก ด้านการรับรู้ ถึงความต้องการหรือปัญหา (r = .392) ด้านการแสวงหาข้อมูล (r = .312) ด้านการประเมินทางเลือก (r = .233) ด้านการตัดสินใจซื้อ (r = .323) และพฤติกรรมภายหลังการซื้อ (r = .284) โดยสัมพันธ์ กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ประชาชาติ. (2559). การท่องเที่ยวไทยอีก 10 ปีข้างหน้า อยู่ตรงไหนในโลก?. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562, จาก https://www.facebook.com/PrachachatOnline/posts/10154615770958814:0.

ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พันธุ์ทิพย์ ดีประเสริฐดำรง. (2559). ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าร้าน LOFTของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรรณา ทองเย็น. (2561). แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก: กรณีศึกษาอำเภอเมืองสมุทรปราการ. วารสารเกษมบัณฑิต, 19, 140-149.

วรวุฒิ อุ่นใจ. (2562). บทวิเคราะห์สถานการณ์ “ค้าปลีกไทย” ปี 2019 “ซึม-ทรง-เสี่ยง” พร้อม 8 มาตรการเพิ่มโอกาสเติบโต. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562,

จากhttps://www.brandbuffet.in.th/2019/02/thai-retailers-association-outlook-for-retail-in-2019/.

Krungsri Research. (2561).ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/ece23010-e01f-42ee-a944-264c479bbd46/IO_Modern_Trade_180905_TH_EX.aspx.

Krungsri Research. (2562). ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/4728f783-fc87-49fc-9ba8-caa969f66d3f/IO_Modern_Trade_190829_TH_EX.aspx.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020