ปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจอาหาร ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • นฤศร มังกรศิลา สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นในการใช้, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ธุรกิจอาหาร, นนทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจอาหาร ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความคิดเห็นในการใช้พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร 3) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นในการใช้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูล จากแบบสอบถามออนไลน์ โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างในกรณีที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามทั้งแบบปลายปิด และปลายเปิดในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อ และการทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test และ F-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ฯ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 77.3) อายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 38.8) และจบ การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 63.5) สถานภาพโสด (ร้อยละ 48.5) ประกอบอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 25.5) 1) พฤติกรรมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีประสบการณ์ในการใช้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับคุณค่าจากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ ธุรกิจอาหาร มีความไว้วางใจในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ อยู่ในระดับปานกลาง และนิยมใช้ช่องทาง สื่อสังคมออนไลน์ในทุกช่องทาง 2) ความคิดเห็นในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ โดยภาพรวม ระดับมาก คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และความรู้สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีความคิดเห็น ในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.07, SD = 0.507) 3) ผลการทดสอบสมมติฐานทางสถิติสอดคล้องกับปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ไม่แตกต่างกัน และผลการทดสอบสมมติฐานทางสถิติสอดคล้องกับ ปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ไม่แตกต่างกัน ความคิดเห็นของผู้ใช้ผู้ใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภาพรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน (Mean = 3.92, SD = .795)

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management). กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2558). ตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พัศภณ บวรพุฒิคุณ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำจากร้านค้าออนไลน์ใน มุมมองด้านการให้บริการ (การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ศศิวิมล กอบัว และคณะ. (2556). ปัจจัยการประสบความสำเร็จในการใช้งานเว็บไซต์พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์สองมิติ. วารสารสุรนารี สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 6(2), 59-71.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: ทางสู่ความสำเร็จของเอสเอ็มอี. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2560, จาก 61https://www.kasikornresearch.com/TH/KEconAnalysis /Pages/ViewSummary.aspx?docid=4702.

Muhammad A. and Senecalb S. (2016). The user multifaceted expertise: Divergent effects of the website versus e-commerce expertise. International Journal of Information Management, 36, 322-332.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019