ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ต่อความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และบรรยากาศองค์การ

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา​ เพียรดี คณะพัฒนา​ทรัพยากร​มนุษย์​และ​องค์การ​ สถาบัน​บัณฑิตพัฒ​น​บริหาร​ศาสตร์​
  • บุษกร วัชรศรีโรจน์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การแสดงอัตลักษณ์ทางเพศ, ผู้มีความหลากหลายทางเพศ, ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน, บรรยากาศองค์การ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงอัตลักษณ์ ทางเพศของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อบรรยากาศองค์การ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานและบรรยากาศองค์การ การวิจัยนี้ ศึกษากลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (เลสเบี้ยน, เกย์, คนที่รักได้ทั้งสองเพศ และคนข้ามเพศ) จำนวน 300 คน จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน แบบผสานวิธีด้วยแบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อทวนค่าสถิติ

     ผลการวิจัยพบว่า 1) เกย์มีความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ หากผู้มีความหลากหลาย ทางเพศทำงานในองค์กรที่เปิดกว้างในการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศ และสนับสนุนให้พัฒนาตนเอง อยู่เสมอ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน 2) คนที่รักได้สองเพศมีความสัมพันธ์กับ บรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วม และการให้รางวัลสูงที่สุด ทั้งนี้ผู้มีความหลากหลาย ทางเพศต่างเห็นพ้องกันว่า การได้รับมีค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามผลการปฏิบัติงาน และได้รับ ยอมรับจากเพื่อนร่วม คือ บรรยากาศองค์กรที่ดีต่อการทำงาน และ 3) ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน มีผลต่อบรรยากาศองค์การอยู่ในระดับสูง

References

ทวินันท์ คงคราญ (2534). บทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างภาพนางสาวไทย พ.ศ. 2507-2531 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชนคณะนิเทศศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ชลธิชา พันธุ์พานิช. (2537). สิทธิคุณค่าของความเป็นมนุษย์กับการประกวดนางงาม: ทัศนะของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2545). ว่าด้วยเพศ ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

สุจิรา อรุณพิพัฒน์ (2550). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการผลิตนางงาม: กรณีศึกษาการประกวดนางสาวไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองคณะเศรษฐศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Banet-Weiser, S. (1999). The most beautiful girls in the world: beauty pageants and national identity. Berkeley, Calif: University of California Press.

Bloul, R. A. D. (2012). Ain't I a woman? Female landmine survivors' beauty pageants and the ethics of staring. Social Identities Journal for the Study of Race, Nation and Culture, 18(1), 3-18.

Cohen, C. B., Richard, W. & Beverly S. (eds) (1996). Beauty queens on the. Global Stage–Gender, Contests, and Power. London: Routledge. 1996.

Erving G. (1959).The Presentation of Self in Everyday Life,New York: Doubleday Dell Publishing Group,Inc,.

Özdemir, B. P. (2016). Building a “Modern” and “Western” image: Miss Turkey beauty contests from 1929 to 1933. Public Relations Review, 42(5), 7-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020