การสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศของแฟนนางงาม: ศึกษากรณีแฟนชายรักชายต่อการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

ผู้แต่ง

  • สุเมธ ชัยไธสง นักศึกษา ป.เอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศ, นางงาม, แฟน, ชายรักชาย, การประกวดนางงาม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายการการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศจากตัวบท นางงามของแฟนปัจเจก 2) อธิบายการสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศจากตัวบทนางงามของแฟน ปัจเจก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในที่นี้คือแฟนที่ถือเพศสภาพแบบชายรักชายแบบเกย์ และสาวข้ามเพศ เพื่ออธิบายการสร้างตัวตนและการสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศ ของแฟนนางงามผู้ถือเพศสภาพ แบบชายรักชายทั้งแบบเกย์ และแบบสาวข้ามเพศต่อการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยผู้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูล การสัมภาษณ์เจาะลึก และการวิจัยเอกสาร

     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเข้าสู่ความเป็นแฟนด้วยตัวแปรที่สำคัญได้แก่ เพศสภาพ สำนึกเรื่องชาติ และรสนิยมชื่นชอบความเป็นโลกที่ถูกสื่อสารผ่านอัตลักษณ์ของนางงามไทย และ นางงามต่างชาติ โดยนางงามมีลักษณะเป็น “ผู้หญิงเหนือจินตนาการ” (Extraordinary Woman) และ แฟนได้สร้างตัวตนจากตัวบทนางงามในด้าน อากัปกิริยา การสร้างและตกแต่งร่างกาย การสร้าง ความรู้ความสามารถ และวิธีคิดแบบนางงาม โดยสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศผ่านการสื่อสารภายใน ตนเอง การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มย่อย การสื่อสารกลุ่มใหญ่ การสื่อสารมวลชน และสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนตัว โดยอัตลักษณ์ที่แฟนสร้างและสื่อสารนั้นเป็นอัตลักษณ์ ทางเพศแบบผสมผสาน (Hybridity) ระหว่างตัวตนเดิมของแฟนและความเป็นนางงาม ซึ่งสะท้อน ว่าการประกวดนางงามไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่สื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศของผู้หญิงนางงามเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่สื่อสารและต่อสู้เรื่องอัตลักษณ์ทางเพศของชายรักชายแบบเกย์ และแบบสาวข้ามเพศ ร่วมด้วย

References

แก้วเทพ (2555). สื่อที่ใช่ของใครที่ชอบ : การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ. ภาพพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.
ทวินันท์ คงคราญ (2534). บทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างภาพนางสาวไทย พ.ศ.2507-2531.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชนคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2545). ว่าด้วยเพศ ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (2553).ขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์ในสังคมไทย ภาคปฏิบัติและกระบวนทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุปรีดา ช่อลำไย (2549). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนคลับธงไชย แมคอินไตย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจิรา อรุณพิพัฒน์ (2550). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการผลิตนางงาม: กรณีศึกษาการประกวดนางสาวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
B. PınarÖzdemir. Building a “Modern” and “Western” image : Miss Turkey beauty contests from 1929 to 1933.
Mary CRAWFORD and the others (2005). Globalizing Beauty: Attitudes toward Beauty Pageants among Nepali Women.
Mila Ganeva (2013). Miss Germany, Miss Europe, Miss Universe: Beauty Pageants in the Popular Media of the Weimar Republic.
Thitipong Duangkong.(2011). Virtual Communities in Global Beauty Pageants: Case Study of Thailand-Latin America

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020