จากเมล็ดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงสู่อาหารว่าง: ทางเลือกในการสร้างรายได้บนฐานแนวคิดว่าด้วยการพึ่งตนเอง

ผู้แต่ง

  • ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การฝึกอบรม, การพึ่งตนเอง, ข้าวสังข์หยด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการความรู้เกี่ยวกับอาหารว่างของ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง 2) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับอาหารว่างให้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และ 3) ประเมินความพึงพอใจและผลลัพธ์จาก การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง โดยเลือกบ้านดอนนูด ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่วิจัย การรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือและ วิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสนทนาตามธรรมชาติ การจดบันทึก การบันทึกเสียง และการสังเกตแบบไม่มี ส่วนร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ

     ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงมีความต้องการความรู้ เกี่ยวกับอาหารว่างในเรื่องการทำข้าวเกรียบ ข้าวแต๋นน้ำผลไม้ ข้าวผสมธัญพืชอบกรอบ และแพนเค้ก 2) ฐานการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 ฐาน ซึ่งใช้การสาธิตวิธีประกอบการบรรยายโดยวิทยากร และการเรียนรู้ โดยการลงมือปฏิบัติ และ 3) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงมีความพึงพอใจจาก การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\mu = 4.62 ± 0.28) ความพึงพอใจ ด้านประโยชน์ที่ได้รับมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\mu = 4.84 ± 0.24) รองลงมาคือด้านการดำเนินการ (gif.latex?\mu = 4.63 ± 0.29) และด้านวิทยากร (gif.latex?\mu = 4.50 ± 0.39) ตามลำดับ ประเด็นความสุขที่ได้รับ จากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\mu = 4.94 ± 0.25) หลังจากการจัด ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติผ่านไป 3 เดือน ได้มีการประเมินผล ซึ่งพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุงทุกรายได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการไปใช้ประกอบอาหารว่าง เพื่อรับประทานในครัวเรือน รวมทั้งได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่บุคคลแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนา โครงการฝึกอบรม เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงต่อไป

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, สำนักงานจังหวัดพัทลุง. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดพัทลุง 5 ปี พ.ศ. 2561–2565 (ฉบับทบทวนประจำปี 2563). สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.phatthalung.go.th/develop_plan

กองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว, กรมการข้าว. (2561). ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก http://kb.doae.go.th

กานดา จันทร์แย้ม. (2556). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

จักรพงศ์ จิระแพทย์, ทวี บุญภิรมย์, ทัศนีย์ รัดไว้ และไซเดน อาแวเต๊ะ. (2556). ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตรของประชาชนตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(2), 57–66.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2544). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน: ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

ณภัค ธนเดชะวัฒน์, พรรัตน์ แสดงหาญ และอภิญญา อิงอาจ. (2560). การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมตามแนวคิดของเคิร์กแพทริก กรณีศึกษาการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 65–80.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2554). จัดการฝึกอบรมให้มีประสิทธิผลอย่าง Training Officer มืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น).

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีฤส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สิริลักษณ์การพิมพ์.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2544). กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2555). การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ข้าว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 32(2), 120–128.

พรชุลีย์ นิลวิเศษ และพจน์ พรหมบุตร. (2546). กลยุทธ์การส่งเสริมอาชีพเกษตร. ใน การศึกษาเกษตรและการส่งเสริมอาชีพเกษตรหน่วยที่ 9–15 (พิมพ์ครั้งที่ 8). หน้า 103–148. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

มนัส ชูผกา, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, คณิต เฉลยจรรยา และสุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26(3), 499–505.

ลั่นทม จอนจวบทรง และณธภร ธรรมบุญวริศ. (2556). การถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่น: กรณีศึกษาการถ่ายทอดความรู้ผักพื้นบ้านของภาคตะวันออก. วารสาร มฉก. วิชาการ, 17(33), 117–128.

วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย, พรพล รมย์นุกูล, หงส์วริน ไชยวงศ์ และเมลดา อภัยรัตน์. (2560). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเบเกอรี่เพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(4), 257–273.

วิบูลย์ บุญยธโรกุล. (2545). คู่มือวิทยากรและผู้จัดการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

แว่นฟ้า ริกา, ภัทรวรรณ แท่นทอง และสมใจ หนูผึ้ง. (2556). การผลิตและการจัดจำหน่ายข้าวสังข์หยดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2(1), 1–6.

สมคิด บางโม. (2549). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมิต สัชฌุกร. (2547). เทคนิคการสอนงาน. กรุงเทพฯ: สายธาร.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. (2556). การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมบนพื้นฐาน COMPETENCY. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Zeus, P., & Skiffington, S. (2002). The coaching at work toolkit: A complete guide to techniques and practices. New York, NY: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020