นิวนอร์มัลในการพัฒนาเด็กตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • วัยวุฒิ บุญลอย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

นิวนอร์มัล, การพัฒนาเด็กปฐมวัย, พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของ การมีพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน หลักการแนวคิดต่าง ๆ 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางนิวนอร์มัลในการพัฒนาเด็กปฐมวัยตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยกลไกต่าง ๆ มีส่วน สำคัญในการพัฒนาการศึกษาของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของโลกหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและ สังคมในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยนั้น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องให้การส่งเสริมและสนับสนุนต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็น อย่างมาก ซึ่งถูกกำหนดเรื่องนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมาย เฉพาะโดยตรงสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาในระบบเป็นหลักสำคัญแล้ว การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจะเป็นการช่วย เติมเต็มทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ให้ตรงกับความต้องการของเด็กปฐมวัยด้วยเช่นกัน จากการ สังเคราะห์จึงได้แนวทางนิวนอร์มัลในการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย พ.ศ. 2562 4 แนวทางดังนี้ คือ 1) ด้านการเรียนรู้ในทุกมิติการจัดการศึกษาสำหรับเด็ก ปฐมวัย 2) ด้านการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน 3) ด้านนวัตกรรมการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเร่งความก้าวหน้าสำหรับเด็ก เช่น ในเรื่องหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน ที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) ด้านการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาเด็กปฐมวัยในรูปแบบใหม่ภายใต้หลักคิดของภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560–2564. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://dcy.go.th/webnew/ebook/dcy/2560-2564/mobile/index.html

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2563). ข้อมูลจำนวนเด็กและเยาวชน ณ วันที่31 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://dcy.go.th/webnew/main/index.php

จาเร็ด ไดมอนด์. (2563). การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่: จุดเปลี่ยนสำหรับนานาประเทศท่ามกลางภาวะวิกฤต [UPHEAVAL: Turning points for nationals in crisis] (อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ และสัญญา นาวายุทธ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท วิชั่น พรีเพรส จำกัด.

โชติอนันต์ เกษมวงศ์หงส์ และฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2563). การวิเคราะห์ตัวละครและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมิติความเป็นจริงกับความฝันในภาพยนตร์แฟนตาซี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(3), 254-256.

ไบรอัน รีช. (2562). เปิดจินตนาการ ปลดปล่อยศักยภาพที่เหนือกว่าให้โลกรู้ [The imagination gap] (กิตติกานต์ อิศระ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ปิยลักษณ์ พฤกษะวัน. (2563). รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยของเด็กปฐมวัย. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3(2), 88-94.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 783-793.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสภา. (2563). บัญญัติศัพท์ “New Normal”. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/292432

ลิขิต ธีรเวคิน. (2560). ครูการเมือง ความคิด ชีวิต และผลงานของ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 134 ตอนที่ 10 ก. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://www.ratchakitcha.go.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://www.ratchakitcha.go.th

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://www.ratchakitcha.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสำรวจจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จากการสํารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน จำแนกตามการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และกลุ่มอายุ พ.ศ. 2552–2561. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/16.aspx

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา. แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จาก http://www.soc.go.th

อัครพล ไชยโชค. (2562). การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 519-536.

Goteborgs, P. (2020). Here the school's new vocational group is trained. Retrieved 26 March 2020, from https://www.gp.se/ekonomi/h%C3%A4r-utbildas-skolans-nya-yrkesgrupp-1.25578721

Stanislas, D. (2020). How we learn: The new science of education and the brain. UK: Clays Ltd.

Unicef. (2020). What-we-do. Retrieved 7 April 2020, from https://www.unicef.org/what-we-do

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021