การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการจัดการการตลาดข้าวในจังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ระบบบริหารจัดการงานวิจัย, งานวิจัยเชิงพื้นที่, การจัดการองค์ความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างงานวิจัยเชิงพื้นที่สามารถทำวิจัยตามความต้องการ ของชุมชนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 2) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการจัดการ การตลาดข้าวในจังหวัดชัยนาท และ 3) เพื่อพัฒนานักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และนักวิจัยชาวบ้าน ให้เป็นนักวิจัยเชิงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และชุมชนในจังหวัดชัยนาท 3 พื้นที่ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) งานวิจัยชุมชน (CBR) และ การทำงานวิจัยด้วยวิธีแบบ 7 in 1 รวมทั้ง ระบบสนับสนุนงานวิจัยของชุดกลไก (การวางแผน สนับสนุน ติดตามประเมินผล พี่เลี้ยงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ) เป็นปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ และ นำสามารถไปสู่การจัดการความรู้ของงานวิจัยได้
ผลการวิจัย พบว่า 1) มีงานวิจัยเชิงพื้นที่เป็นไปตามความต้องการของชุมชนและ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จำนวน 6 โครงการ ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา บ้านหัวตะพาน ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี และบ้านคลองรี่ ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 2) เกิดระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม สำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและการจัดการการตลาดข้าวในจังหวัด ชัยนาท 3) นักวิจัยจำนวน 18 คนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นักวิจัยชาวบ้านจำนวน 60 คน ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาให้เป็นนักวิจัยเชิงพื้นที่
References
กรมการข้าว. (2560). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูกข้าว ปี 2559-2560 รอบที่ 1. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562, จาก www.ricethailand.go.th/
เกวรินทร์ พันทวี และคณะ. (2562). การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการทำนา บ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู จังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
กาญจนา ทองทั่ว. (2562). งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น Community Based Research (CBR). สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562, จาก https://km.sci.ubu.ac.th/
________. (2561). คนหนุนนักวิชาการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ฉัตรนภา พรหมมาและคณะ (2561). สานพลังวิจัยมหาวิทยาลัยคู่ชุมชนท้องถิ่น. ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2560). การวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.wu.ac.th/th/research/1074/
มติชนออนไลน์ (2559). รายงานปัญหาสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562, จาก www.matichon.co.th
พรเทพ ชมชื่นและคณะ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเพื่อจากข้าวปลอดภัยชัยนาทอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหัวตะพาน จังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
บัญชร แก้วส่อง. (2560). หนึ่งชุมชนหนึ่งงานวิจัย: การเตรียมคนฐานรากเพื่อเข้าสู่เมืองไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562, จาก https://vijaitongtin.wordpress.com
ปิยพร ท่าจีน และคณะ. (2562). แนวทางการลดการเพิ่มหนี้สินสะสมอย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วิจิตร จารุโณปถัมภ์. (2562). รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนชาวนาแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโรงเรียนชาวนาบ้านคลองรี่ ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วรวุฒิ ภักดีบุรุษและคณะ. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตามวิถีเกษตรของบ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุพรรณี ปลัดศรีช่วยและคณะ. (2562). การวิเคราะห์สภาพพื้นที่และการถือครองที่ดินโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมกับชุมชน บ้านดอนซาก อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สีลาภรณ์ บัวสาย. (2557). บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยรับใช้พื้นที่: 15 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยไทย. โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ ระหว่าง มวล. และ สกว. นครศรีธรรมราช.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2552). การวิจัยเชิงพื้นที่. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.vijai.org
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว