การพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยวภาษาญี่ปุ่นตามเส้นทางประวัติศาสตร์ปราสาทหินในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ยุพิน ประทุมมี สาขาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

คู่มือท่องเที่ยว, เส้นทางประวัติศาสตร์ปราสาทหิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ตามเส้นทางประวัติศาสตร์ ปราสาทหินในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยวภาษาญี่ปุ่นตามเส้นทาง ประวัติศาสตร์ปราสาทหินในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ทำให้มีคู่มือประชาสัมพันธ์ปราสาทหินในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัย และสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ปราสาทหิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินเพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือ 4 ด้านคือ 1) การจัดรูปแบบวิดีโอ 2) ข้อมูลเนื้อหา 3) การใช้ภาษา และ 4) ภาพประกอบ ผลการศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ตามเส้นทางประวัติศาสตร์ปราสาทหินในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษสามารถจำแนก ออกมาได้ดังนี้ 1) ประวัติปราสาทหิน 2) บริเวณรอบปราสาท 3) ลักษณะของปราสาท 4) องค์ประกอบ ของปราสาท และ 5) วิถีชุมชน ทำให้ทราบถึงอัตลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงความเป็นปราสาทหิน และผลจาก การประเมินคู่มือในการสร้างและพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพคู่มือคือ ด้านข้อมูลเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (4.03) ส่วนนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมีความพึงพอใจในด้านข้อมูล เนื้อหามีความถูกต้อง ลำดับเนื้อหาเหมาะสม ดูแล้วเข้าใจง่าย มีความต่อเนื่องของเนื้อหา อยู่ใน ระดับมากที่สุด (4.40)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยาณี กุลชัย. (2560). การสร้างคู่มือการท่องเที่ยวชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 20.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2540). บ้านกับเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงฤทธิ์ ฉิมโหมด. (2558). การพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมเสริมทักษะการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับเยาวชนที่รับจ้างทั่วไปบริเวณชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พุทธศักราช 2557. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(2), 17-32.

เที่ยวเมืองไทย. (2556). เที่ยวตามรอยอารยธรรมขอมโบราณ ชมปราสาทหิน 4 จังหวัดอีสานใต้. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560, จาก https://www.triptravelgang.com/travel-thailand/4170/

สมภพ ชาตวนิช. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมของปราสาทหินพิมายและปราสาทเขาพนมรุ้ง, (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ. (2557). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว. (2559). ข้อมูลน่ารู้. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=comcontent&view=article&id=2815%3A-2558&catid=57%3A2014-04-30-02-27-40&ltemid=4

สุจริต มานิตกุล. (2552). การพัฒนาคู่มือท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อโศก ไทยจันทรารักษ์, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง, อำนาจ เย็นสบาย, และ นพดล อินทร์จันทร (2558). การผลิตศิลปกรรม แรงบันดาลใจจากปราสาทเขาพนมรุ้ง. วารสารรมยสาร, 13(2).

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020

How to Cite

ประทุมมี ย. (2020). การพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยวภาษาญี่ปุ่นตามเส้นทางประวัติศาสตร์ปราสาทหินในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. จันทรเกษมสาร, 26(2), 230–246. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/246222