พฤติกรรมและเจตคติต่อการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการระรานทางไซเบอร์, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการระรานทางไซเบอร์ เจตคติต่อการการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ช่วงชั้นที่กำลังศึกษา และรูปแบบที่ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนจำนวน 1,043 คน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นนักเรียนที่เคยทำพฤติกรรมระรานทาง ไซเบอร์ 159 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับการพฤติกรรมและเจตคติ ต่อการระรานทางไซเบอร์ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พฤติกรรม การระรานทางไซเบอร์ และเจตคติต่อพฤติกรรมการระรานทางไซเบอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบค่าสถิติที ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นด้วยข้อความหยาบคายหรือด่าทอผู้อื่น มากที่สุด เมื่อจำแนกตามเพศ ช่วงชั้นที่กำลังศึกษา และรูปแบบการเลี้ยงดูพบว่า พฤติกรรมของ การระรานทางไซเบอร์ส่วนใหญ่มีสัดส่วนของนักเรียนที่เคยกระทำและไม่เคยกระทำแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ เจตคติของนักเรียนต่อพฤติกรรมการระรานทางไซเบอร์ จำแนกตามเพศ ช่วงชั้นที่กำลังศึกษา และรูปแบบการเลี้ยงดู พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิราพร ชั้นประดับ. (2563). การระราน กลั่นแกล้ง คุกคาม ผ่านโลกไซเบอร์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563, จาก www.thaindc.org
ชินดนัย ศิริสมฤทัย. (2561). การรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (การค้นคว้าอิสระ นศ.ม. การสื่อสารเชิงกลยุทธ์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และ อลิสา วัชรสินธุ. (2557). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.
ดุลยา จิตตะยโสธร. (2552). รูปแบบการเลี้ยงดู: แนวคิดของ Diana Baumrind. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 173-187.
ธันยากร ตุดเกื้อ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. พัฒนามนุษย์และสังคม). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2560). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ความรุนแรงที่ต้องแก้ไข และนวัตกรรมการจัดการปัญหา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 1(9), 100-106.
พรชนก ดาวประดับ และ กัลป์ยกร วรกุลลัฏฐานีย์. (2561). รูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 4(3), 63-78.
มูลนิธิยุวพัฒน์. (2562). การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th
ราชบัณฑิตยสภา. (2562). คำศัพท์คอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2563, จาก https://web.facebook.com/RatchabanditThai/photos/cyber-bully
วรพงษ์ วิไล และ เสริมศรี นิลดำ. (2561). พฤติกรรมการรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. CRRU Journal of Communication Chiangrai Rajabhat University, 1(2), 1-24.
สกล วรเจริญศรี. (2559). การข่มเหงรังแก. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 51, 13-20.
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. “รู้หรือไม่ 59% ของเด็กไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งใน Cyberbullying”. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2563, จาก https://www.eventpop.me./blog/200-cyberbullying,2019.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ. (2561). นิรนามบนโลกออนไลน์ ว่าด้วยการมีตัวตนและไร้ตัวตนบนโซเชียลมีเดีย. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563. จาก https://thematter.co/thinkers/disguise-on-online-world/81564
Donegan, R. (2012). Bullying and cyberbullying. The Elon Journal of Undergraduate Research in Communications, 3(1), 33-42.
Hinduja, S. and Patchin, J, W. (2014). Cyberbullying: Identification, Prevention and Response. Retrieved June 25, 2020, from https://cyberbullying.org/Cyberbullying-Identification-Prevention-Response.pdf
Menesini, E. and Nocentini, A. (2009). Cyberbullying definition and measurement. Journal of Psychology, 217(4), 230-232.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว