การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะปฏิบัติท่ารำวงมาตรฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา โดยใช้รูปแบบการสอนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์

ผู้แต่ง

  • ศริญญา สีเลา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คำรณ สุนทรานนท์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รจนา สุนทรานนท์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้, รูปแบบการสอนแบบจิ๊กซอว์, ทฤษฎีปฏิบัติของเดวีส์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ผสมผสาน ทักษะปฏิบัติเดวีส์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์กับกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบทักษะ การปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบ การเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์กับกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน สารสาสน์เอกตรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 59 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 29 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรำวง มาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์รำวงมาตรฐาน และ 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที

            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนรำวงมาตรฐาน โดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนรำวงมาตรฐานโดยใช้ รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการปฏิบัติทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนรำวง มาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วย รูปแบบการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมศิลปากร. (2542). แผนแม่บทการอนุรักษ์สืบทอดพัฒนาศิลปวัฒนธรรมยามวิกฤต พ.ศ. 2542–2545. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ดาหวัน พิมพ์ศรี. (2553). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องรำวงมาตรฐานเพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้าและรำพื้นเมืองแบบเน้นการปฏิบัติและการใช้สื่อประสม (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

มหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมจักร พรหมพ้วย และรัสวรรณ อดิศัยภารดี. (2557). ภาษาท่าและการตีบท. เอกสารประกอบการสอน. สาขาวิชานาฏกรรมไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิกูล เปียมาลย์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนตามกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานช่างในบ้าน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

บูรชัย ศิริมหาสารคาม. (2545). สรุปบรรยาย เรื่องการฝึกอบรมตามหลักสูตรใหม่. โครงการสัมมนาวิทยาเขต 1-5 12 มีนาคม 2545. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษานครปฐม.

พิมพ์วดี จันทรโกศล. (2557). กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

มนชนก รัตนจำนงค์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบทางตรงผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

รัชนี ทาเหล็ก. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่องเส้นขนานที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรรถยุทธ ผันผอง. (2555). การพัฒนาชุดการสอนนาฏศิลป์ เรื่องนาฏศิลป์พื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021