การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด

ผู้แต่ง

  • จีรวรรณ สรบุญทอง สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บุษบา บัวสมบูรณ์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย, ทักษะการร่วมมือ, เทคนิคจิ๊กซอว์ 3, คำถามพัฒนาการคิด

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้ คำถามพัฒนาการคิด 2) ศึกษาทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด 3) ศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการจับสลาก โดยเครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบสังเกตทักษะการร่วมมือ และ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้ คำถามพัฒนาการคิด โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก

References

กตัญญู ชูชื่น. (2543). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วีพริ้น.

ณัฏฐกาญจน์ อนันทราวัน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรืองและคณะ. (2545). ผู้เรียนเป็นสำคัญและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ปนัดดา ใจสุทธิ์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประภาสินี ปิงใจ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้โมเดลกราฟฟิติที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยเรื่องเงาะป่า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 กับแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากรม, นครปฐม.

ปิยนุช แหวนเพชร. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้แผนภาพความคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

พรทิพย์ แข็งขัน. (2555). ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชุดฝึกอบรมครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2555). ความรู้ทั่วไปทางภาษาไทย ตอนที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชรพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอลทีเพลส.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Bloom, B.S. (1976). Human characteristicsand school learning. New York: McGraw-Hill.

Michael, R. (1994). Groupwork in education and training. London: Biddles Ltd.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative learning: Theory research and practices. New Jersey: Prentice Hall.

Stahl, R. J., Editor. (1994). Cooperative learning in social studies a handbook for teachers. New York: Addison – Wesley Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021