ประติมากรรมฤาษีดัดตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม: รูปแบบศิลปะสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ เชื้อน้อย นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ประติมากรรมฤาษีดัดตน, โคลงภาพฤาษีดัดตน, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

บทคัดย่อ

            บทความนี้เป็นการศึกษารูปแบบลักษณะของประติมากรรมฤาษีดัดตน ทั้งในเรื่อง หน้าตา สีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย เพื่อกำหนดอายุสมัยของประติมากรรมกลุ่มนี้ โดยได้ ทำการศึกษาเปรียบเทียบงานประติมากรรมที่ปรากฏ จำนวน 28 ท่า 29 ตน ร่วมกับงานประพันธ์ โคลงภาพฤาษีดัดตนที่ได้บรรยายลักษณะของฤาษีดัดตนทั้ง 80 ท่า พร้อมภาพประกอบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกลงในหนังสือสมุดไทยเมื่อครั้งแรก สร้างและยังได้ศึกษาเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับงานศิลปกรรมฤาษีในวัฒนธรรมต่าง ๆ

            ประติมากรรมฤาษีดัดตนภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นงานที่มีการคิดสร้างขึ้น ช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยังเน้นถึงลักษณะเฉพาะของความเป็นฤาษี ทั้งในเรื่องการแต่งกาย โดยเฉพาะการใส่หมวกทรงดอกลำโพง ถือเป็นสิ่งที่แสดงความเป็นเพศนักบวชอย่างแท้จริง ส่วน การพาดผ้าและการนุ่งผ้ามีความหลากหลายขึ้นอยู่กับท่วงท่าในการดัดตนของฤาษีแต่ละตน ส่วนประเด็นเรื่องการกำหนดอายุสมัยประติมากรรมฤาษีดัดตน จำนวน 28 ท่า 29 ตน พบว่า มีเพียง 19 ท่า 20 ตน ที่มีท่าทางและอิริยาบถสอดคล้องกับเนื้อหาและภาพในสมุดไทย ผู้ศึกษา มีความเห็นว่าประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นประติมากรรมฤาษีที่เก่าสุดภายในวัดพระเชตุพนฯ

References

กรมศิลปากร. (2550). สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (2533). โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ: กองทุนสมเด็จพระสังฆราช 17 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม.

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร. (2553). คู่มือนำเที่ยววัดโพธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จกรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่ม 25. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021

How to Cite

เชื้อน้อย อ. (2021). ประติมากรรมฤาษีดัดตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม: รูปแบบศิลปะสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์. จันทรเกษมสาร, 27(1), 75–88. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/248204