การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • มนตรี ดีโนนโพธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ทักษะการพูดภาษาจีน, ภาษาจีนเบื้องต้น, กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนา ทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ก่อนและหลังทดลองใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของ ผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นของ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา CHIN1201 การฟังและการพูดภาษาจีน 1 ในภาคเรียนที่ 2/2561 จำนวนทั้งหมด 30 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 14 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก 2) รูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกตามแนวคิดทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 2W3P 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล

            ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูด ภาษาจีนเบื้องต้นของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 91.36 : 94.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 ก่อนทดลอง และหลังทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้น พบว่า ผลการทดลองหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.73 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.23 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อ พัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นมีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.47, SD = 0.26)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุหงา วัฒนะ. (2546). Active learning. วารสารวิชาการ, 6(9), 30-34.

วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยเน้นงานปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีวิทยา (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณภา สุขสังข์. (2545). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสาร (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น (ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Johnson, K & Morrow, K. (1987). Communication in the classroom. Harlow: Longman.

Kuder, Frederic G. & Richardson. M.W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2, 151-160.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Lynch, T. (1996). Communication in the language classroom. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021