ผลของการจัดการพฤติกรรมองค์การที่มีต่อความเครียดในการทำงานในภาวการณ์โควิด-19 ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนชัย ยมจินดา สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ลดาวัลย์ ยมจินดา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กรรณิการ์ เฉกแสงรัตน์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เริงรัก จำปาเงิน สาขาวิชาการจัดการการเงินการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความเครียดของพนักงาน, โควิด-19, พฤติกรรมองค์การ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเครียดของ พนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานครในภาวการณ์โควิด-19 ตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษา ระดับการจัดการพฤติกรรมองค์การของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาผลของการจัดการ พฤติกรรมองค์การที่มีต่อความเครียดของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาวการณ์ โควิด-19 ประชากรที่ศึกษาคือ พนักงานบริษัทต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรกรณีไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Cochran โดยกำหนดระดับ ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่คณะผู้วิจัยใช้ คือ 400 เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประมาณค่าของ Likert ที่มีค่าความเชื่อมั่น .634 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเครียดของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานครในภาวการณ์ โควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.80) และ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านอายุ ตำแหน่งงาน อายุงานและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยระดับความเครียดของเพศชาย สูงกว่าเพศหญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนกการเงิน/บัญชี การขายการตลาดและ IT และพบระดับ ความเครียดที่สูงกว่าของกลุ่มตำแหน่งหัวหน้างาน/ผู้บริหารระดับต้น กลุ่มอายุงาน 2-4 ปี และ พบว่าแผนกการเงิน/บัญชี การขายการตลาดและทรัพยากรมนุษย์มีระดับความเครียดสูงกว่า แผนกอื่น ๆ 2) การจัดการพฤติกรรมองค์การโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M = 3.21) 3) การจัดการ พฤติกรรมองค์การมีผลเชิงลบต่อความเครียดของพนักงาน และมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 33.4

References

กรมสุขภาพจิต. (2541). คู่มือคลายเครียด (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ดีไซน์คอนดักชั่น.

ธนาคารโลก. (2563). รายงานผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก www.news.thaipbs.or.th/content/293470

ธนาคารแห่งประเทศไทย (2563). รายงานนโยบายการเงินเดือนกันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก www.bot.or.th/thai/MonetaryPolicy/MonetaryPolicyCommitee/MPR/Pages/default.aspx

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2563). การบริหารบุคคลยุค New Normal คอลัมน์ เอช อาร์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก www.prachachat.net/cs-hr/news/467738

ลักขณา สริวัฒน์. (2561). การศึกษาพฤติกรรมองค์การ. วารสารบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(2), 7-15.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: ม.ม.พ.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (2563). ข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก www.thebangkokinsight.com/489892/

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตตัวเก็บประจุไฟฟ้าโทรศัพท์มือถือ. วารสารจันทรเกษมสาร, 21(41), 125-134.

สุรชัย ทุหมัด และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ความเครียดและผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 151-165.

Cochran W.G. (1977). Sampling Techniques. (2nd ed.). New York, Wiley.

DeFrank, R.S. & Ivancevich, J.M. (1998). Stress on the job: An executive update. Academy of Management Executive, 12(3), 55-66.

Ivancevich, J. M. & Matteson, M T. (1980). Stress and work: A managerial perspective. Glenview, IL: Scott, Foreman.

Kreitner, R. & Kinicki, A. (2001). Organizational behavior (5thed). McGraw-hill. Co. Inc.

Narayan, L., Menon, S. & Spector, P. E. (1999). Stress in workplace: A comparison of gender and occupation. Journal of Organizational Behavior, 20(1), 63-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021