การพัฒนาความสามารถในการสะกดคำภาษาไทยและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ต

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา อ่อนเบา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิณพนธ์ คงวิจิตต์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความสามารถในการสะกดคำภาษาไทย, ความคงทนในการเรียนรู้, รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ต

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าระดับความสามารถในการสะกดคำ ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตก่อนและหลัง การทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตก่อนและหลังการทดลอง และ 3) ศึกษาความคงทน ในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน เบรนทาร์เก็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนคลองเกลือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การสะกดคำภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ต 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสะกดคำภาษาไทย และ 3) แบบทดสอบวัดความคงทนใน การเรียนรู้ เรื่องการสะกดคำภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าระดับความสามารถในการสะกดคำภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ความสามารถในการสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ การสอนเบรนทาร์เก็ตหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคงทนในการเรียนรู้การสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัด การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ต เมื่อระยะเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน

References

กรรณิการ์ สุพิชญ์ และสันติ วิจักขณาลัญฉ์. (2558). ผังกราฟิก: เครื่องมือช่วยการเรียนรู้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 19-39.

กานต์รวี บุษยานนท์. (2559). รูปแบบการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของสมอง (Brain-Targeted Model) กับการพัฒนาสมอง และการเรียนรู้ Brain-Targeted Teaching Model: Brain development and Learning. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 160-176.

กรุณา มีวัน. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

กาญจนา ไผ่สอาด. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงมโนทัศน์ เรื่องเงินทองของมีค่าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เกศสุดา ใจคำ. (2552). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน: Brain-based leaning. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 3(1), 62-60.

คำเพียร ชูเดช. (2553). ผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2560). วิธีการและเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุมพจน์ วนิชกุล. (2551). ทักษะการจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, จาก: http://wachum.org/eBook/4000111/doc5-6.html.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส. พริ้นติ้งไทย แฟคตอรี่.

พิณพนธ์ คงวิจิตต์. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการสอน เบรนทาร์เก็ตที่มีต่อความสุขในการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช และศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้ทางอารมณ์และ สังคมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 11(1), 160-173.

โรงเรียนคลองเกลือ. (2562). รายงานประจำปีระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562. นนทบุรี: ฝ่ายบริหารงานวิชาการโรงเรียนคลองเกลือ.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2556). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: เฟิสท์ออฟเสท (1993).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). หนังสืออิเล็กทรอนิคส์ การคิดเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564. จาก: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2562). คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). นักภาษาไทยชำแหละปัญหาปัญหาเด็กไทยอ่านไม่ออก ชี้ครูเป็นต้นเหตุสอนผิดวิธี สอนสะกดคำแปลกทำให้เด็กไขว้เขว. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก: https://www.posttoday.com/social/general/309228.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2548). หลักการเรียนรู้โดยเน้นสมองเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2557). ภาษาพาสอน เรื่องน่ารู้สำหรับครูภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.

Adam, J. A. (1967). Human memory. New York: McGraw-Hill.

Hardiman, M. (2012). The brain-targeted teaching model for 21st century school reading companion and study guide. California: Corwin Press.

Tyng, M., Amin, U., Saad, N. M. & Malik, S. (2017). The influences of emotion on learning and memory. Retrieved January 7, 2021, from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2017.01454/full

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021