ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุข: บทบาทของกลุ่มสมาชิกที่มีรายได้แตกต่างกันในฐานะตัวแปรกำกับ

ผู้แต่ง

  • ชลิดา ธีรานุพัฒนา คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • กัลยาณี เสนาสุ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ความสุข, สโมสรโรตารี, ชุมชนแออัด, คุณภาพด้านเศรษฐกิจในครัวเรือน, คุณภาพด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความสุขของ ผู้อาศัยในชุมชนแออัด และสมาชิกสโมสรโรตารี และ 2) บทบาทของกลุ่มสมาชิกที่มีรายได้ แตกต่างกันในฐานะตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุขกับ ระดับความสุข โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจในกลุ่มตัวอย่างผู้อาศัยในชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ชุด และสมาชิกสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทย พื้นที่การดูแล กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ชุด จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความสุขโดยรวมมากที่สุด คือ คุณภาพด้านเศรษฐกิจในครัวเรือนที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อระดับความสุข (β = 0.289) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมาคือ คุณภาพด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อระดับ ความสุข (β = 0.169) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 เมื่อแยกวิเคราะห์ตามกลุ่มสมาชิก พบว่า มีเพียงปัจจัยคุณภาพด้านเศรษฐกิจในครัวเรือนที่ส่งผลกระทบด้านบวกต่อระดับความสุข (β = 0.256) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับกลุ่มผู้อาศัยในชุมชนแออัด ในขณะที่ ในกลุ่มสมาชิกสโมสรโรตารีพบว่า คุณภาพด้านสุขภาพส่งผลกระทบเชิงบวกต่อระดับความสุข (β = 0.325) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมาคือ คุณภาพด้านเศรษฐกิจในครัวเรือน ส่งผลกระทบด้านบวกต่อระดับความสุข (β = 0.287) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ คุณภาพด้านครอบครัวส่งผลกระทบด้านบวกต่อระดับความสุข (β = 0.177) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) สมาชิกกลุ่มที่มีรายได้แตกต่างกันแสดงบทบาทเป็นตัวแปรกำกับ ในความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพด้านครอบครัวกับระดับความสุขที่ระดับนัยสำคัญ .05

References

กรมสุขภาพจิต. (2548). ศาสตร์แนวใหม่แห่งความสุข (The New Science of Happiness). สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก, www.dmh.go.th/news/view.asp?id=942

กัลยาณี เสนาสุ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กัลยาณี เสนาสุ. (2560). การพัฒนาดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติของไทย. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ณัฐวุฒิ เผ่าทวี. (2555). เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยความสุข. “เศรษฐ์ตังค์” จุลสารเพิ่มพูนความรู้เศรษฐศาสตร์, 4(1), 25-27.

บุญทัน พันธ์จันทร์. (2555). ความสุขของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนในตำรวจภูธรภาค 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประเวศ วะสี. (2547). ยุทธศาสตร์รัตนโกสินทร์ระเบิดพลังฝ่า “หลุมดำ”. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และพิริยะ ผลพิรุฬห์. (2550). ความสุขกายสบายใจของคนเมือง. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

ฝน แสงสิงแก้ว. (2543). ความผูกพันรักใคร่ในครอบครัว. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 45(1), 1-10.

พชร ใจอารีย์ และกัลยาณี เสนาสุ. (2560). อิทธิพลของศาสนาต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุข: กรณีศึกษาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย. วารสารจันทรเกษมสาร, 23(45), 50-64.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559). ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: ศยาม.

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ, ปาริชาติ พงษ์ชัยศรี, และชิชญาสุ์ ช่างเรียน. (2553). ความสุขของคนไทยในเขตชนบท. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

รศรินทร์ เกรย์, วรชัย ทองไทย, และเรวดี สุวรรณนพเก้า. (2553). ความสุขเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รศรินทร์ เกรย์, อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, ปราโมทย์ ประสาทกุล, และอุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2555). รายได้ หนี้สิน ความสามารถทำใจยอมรับปัญหา และความสุข. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(3), 347-356.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, และสุจริต สุวรรณชีพ. (2544). ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทของสังคมไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 46(3), 227-232.

Aiken, L., & West, S. (1991). Multiple regression: testing and interpreting interactions. Thousand Oask: Sage Publications, Inc.

Cohen, J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences (2nd ed.). New York: Academic Press.

Dawson, J. F. (2014). Moderation in management research: What, why, when and how. Journal of Business and Psychology, 29, 1-19.

Diener, E. (2006). Guidelines for National Indicators of Subjective Well-Being and Ill-Being. Applied Research Quality Life, 1(July), 151-157.

Easterlin, R. A. (1974). Does Economic Growth Improve the Human Lot? Some Empirical Evidence. In P.A. David and M.W. Reder (Ed.), Nations and Households in Economic Growth: Essays in Honour of Moses Abramowitz. New York and London: Academic Press.

Easterlin, R. A. (2008). Income and happiness: towards a unified theory. The Economic Journal, 11(473), 465-484.

Hair, J. F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R. E. (2009). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kahneman, D., & Deaton, A. (2010). High income improves evaluation of life but not emotional well-being. sychological and Cognitive Sciences, 107(38), 16489-16493.

Layard, R. (2005). Happiness: Lessons from a New Science (Vol. The Penguin Press). New York: Penguin Books Limited.

Mentzakis, E., & Moro, M. (2007). The poor, the rich and the happy: Exploring the link between income and subjective well-being. The Journal of Socio-Economics, 38(1), 147-158.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2021