การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุรพล ศรีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สายฝน แสนใจพรม สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สมเกตุ อุทธโยธา สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, โรงเรียนขนาดเล็ก, การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการ จัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 2) ศึกษาความต้องการในการบริหาร แบบมีส่วนร่วม การจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ 3) เปรียบเทียบ สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความต้องการในการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียน การสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 201 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยสุ่มมาใช้ ในการศึกษา ร้อยละ 25 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่าคุณภาพระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อมั่น 0.98 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัด การเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในภาพรวม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยด้าน การร่วมดำเนินการ มีส่วนร่วมสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการร่วมคิด และวางแผน ด้านการร่วมรับ ผลประโยชน์ ด้านการร่วมประเมิน และปรับปรุง ตามลำดับ ส่วนด้านการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความต้องการในการบริหารแบบมีส่วนร่วมการจัดการเรียนการสอน ด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยด้าน การร่วมดำเนินการ มีความต้องการสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการร่วมคิด และวางแผน ด้านการร่วมรับ ผลประโยชน์ ด้านการร่วมประเมิน และปรับปรุง และด้านการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามลำดับ และ 3) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความต้องการในการบริหารแบบมีส่วนร่วม การจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่แตกต่างกัน มีจำนวน 4 ด้าน ซึ่งในแต่ละด้านความต้องการบริหาร แบบมีส่วนร่วมสูงกว่าสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการร่วมประเมินและปรับปรุง ด้านการร่วมคิดและวางแผน และด้านร่วมดำเนินการ

References

กนกรัตน์ ทำจะดี. (2560). การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

กรมสามัญศึกษา. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

คุณาพิชศน์ แซมสีม่วง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุคพอยท์.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เดือนเพ็ญ ยลไชย. (2562). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

นันทกิตติ แก้วกล้า. (2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และ อินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 176-187.

ประพัทธ์ เทียมจันทร์. (2563, เมษายน). รายงานการประชุม ครั้งที่ 9/2563. เอกสารเสนอต่อที่ประชุมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2, แม่ฮ่องสอน.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Education 4.0. สืบค้นจาก https://sites.google.com/a/rajsima.ac.th/techono4/hnwy-kar-reiyn-ru1/1-4-naew-nom-ni-yukh-dicithal

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Education 4.0. [บทวิเคราะห์]. สืบค้นจาก https://blogs.business.microsoft.com/th-th/2017/05/15/6-technology-trends-shaping-digital-transformation.

ภูเบศก์ เข็มทอง. (2561). สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

ยงควิโรจน์ เศษวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายการศึกษาของโรงเรียนในเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

วิชิต นันทสุวรรณ และจำนง แรกพินิจ. (2541). บทบาทของชุมชนกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.

วินัย ดิสสงค์ และดวัลย์ มาศจรัส. (2550). การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

ศิริกานต์ จันทรศิริ. (2559). การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตามแนวคิดวงจร Deming โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ฉะเชิงเทรา.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

Baker, B. O. & Hall, R. F. (1994). Distance Education in Rural Schools: Technologies and Practice. Journal of Research in Rural Education. 10(2): 126-128.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. F. (1986). World development. New York: McGraw-Hill.

Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2021