ผลกระทบ และการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี

ผู้แต่ง

  • ธิดาพร สันดี สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อาชีพนักดนตรี, ผลกระทบ, การปรับตัว, โควิด 19, ความมั่นคงในอาชีพ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนองค์ความรู้ และบริบทที่เกี่ยวข้อง กับความเป็นอยู่ และรูปแบบการจ้างงานของนักดนตรีในปัจจุบัน 2) ศึกษาผลกระทบ และการปรับตัว ของนักดนตรีในภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ กลุ่มนักดนตรี กลางคืนซึ่งมีทั้งหมด 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มนักดนตรีที่มีการประกอบอาชีพตามสถานบันเทิงซึ่ง ประกอบด้วยผับบาร์ ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ สวนอาหาร กลุ่มนักดนตรีที่มีเวลาการทำงาน ในช่วงเวลากลางคืน และกลุ่มนักดนตรีตามงานเทศกาลหรืองานอีเว้นท์ เพื่ออธิบายถึงชีวิต ความเป็นอยู่ ผลกระทบที่ได้รับ และการปรับตัวของนักดนตรีในช่วงโควิด 19 ด้วยระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจำนวน 6 ท่าน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) การจ้างงานของนักดนตรีในปัจจุบันจะเป็นการจ้างงานเป็นรูปแบบ การผ่านนายจ้างโดยตรง และการแนะนำซี่งกันและกัน โดยการทำงานของนักดนตรีกลางคืน ก่อนเกิดโควิด 19 ส่วนมากจะเป็นการทำงานในสถานที่สังสรรค์ในยามค่ำคืน และความเป็นอยู่ ของนักดนตรีนั้นจะเริ่มการทำงานเป็นช่วงเวลากลางคืน และใช้เวลากลางวันเป็นการพักผ่อน 2) นักดนตรีได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในด้านการทำงาน การดำรงชีวิต ความเป็นอยู่โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่าย และต้องปรับตัวในวิถีชีวิตแบบใหม่ ซึ่งผลกระทบ ด้านรายได้ที่ลดลงเป็นประเด็นหลัก จากการปิดสถานบันเทิงหรือปิดกิจการในสถานที่ที่นักดนตรี ไปทำงาน 3) มีรูปแบบการจัดงานดนตรีเปลี่ยนไป ทำให้นักดนตรีถูกลดงานหรือเลิกจ้าง และ 4) การว่างงานของนักดนตรีทำให้ขาดรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต ต้องหางานเพิ่ม หรือสร้างอาชีพเสริมอื่น เรียกว่าอาชีพที่สอง เช่น อาชีพขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ ครูสอนดนตรี ผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหาร และเกิดการเปลี่ยนเวลาการทำงานจากกลางคืนเป็นกลางวัน เป็นการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เช่น การทำงานลงเสียงดนตรี และโฆษณา การแต่งเพลง การแสดงดนตรีผ่านทางสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก การประชุมผ่านโปรแกรมซูม เป็นต้น

References

ศยามล เจริญรัตน์. (2560). นอกระบบ ห้ามเจ็บ ห้ามตาย ห้ามมีปากเสียง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ไตรรงค์การโรงพิมพ์.
พงษ์มนัส ดีอด. (2563). ผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการประกอบ
อาชีพบริการจัดส่งอาหาร ผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อ
การประกอบอาชีพบริการจัดส่งอาหาร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7 (6), 140- 142 .
ตะวัน วรรณรัตน์. (2557). การศึกษาแรงงานนอกระบบในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย.
ศิลปากร, 34 (3), 144-146 .
ทยากร สุวรรณภูมิ และคณะ. (2564). ผลกระทบโควิด19 ต่ออาชีพนักดนตรีกลางคืนในจังหวัด
เชียงใหม่และลําปาง. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9
(1), 5-7 .
THE MATTER. (2 มิถุนายน 2564). ผลกระทบโควิดที่ยาวนาน และ เรื่อง(งบ)ประมาณนี้หรือเปล่า?. [บทวิเคราะห์]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=EkIs3sJXdxU
Bangkoklifenews. (23 มีนาคม 2563). วิกฤติ COVID-19 ผลกระทบต่อสังคมดนตรีของไทย : ‘อานันท์ นาคคง’. [บทวิเคราะห์]. สืบค้นจาก https://www.bangkoklifenews.com/17195787/
Nattaya L. (23 เมษายน 2564). “ดนตรีกลางคืน” เสียงเพลงที่หายไปในวิกฤตโควิด-19’. [ข่าว]. สืบค้นจาก https://www.sanook.com/news/8370178/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021