การพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรม

ผู้แต่ง

  • วันทนีย์ คำคงศักดิ์ สาขาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การพิจารณาคดีต่อเนื่อง, การบริหารจัดการคดี, เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องและการบริหารจัดการคดีของศาลยุติธรรมไทยกับศาลในต่างประเทศ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรมไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากตําราหนังสือ บทความ และเอกสารอื่น ๆ ข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ การสัมภาษณ์บุคคลผู้เกี่ยวข้อง และการทำแบบสอบถามการวิจัย แล้วนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับศาลในต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรมต่อไป

            ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรม อันประกอบด้วย 1) การกําหนดจํานวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลชั้นต้น 2) การกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาคดี (Time Standard) 3) การบันทึกคำพยานด้วยภาพและเสียง ในการพิจารณาคดี 4) การไกล่เกลี่ยในทุกขั้นศาลเพื่อลดปริมาณคดี 5) การใช้บทบาทเชิงรุก ในการพิจารณาคดี 6) การนำมาตรการเบี่ยงเบนคดีมาใช้ และ 7) การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทำให้การพิจารณาคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกศักดิ์ พ่วงลาภ, 2559. การต่อรองคำรับสารภาพไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564,

จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_408632

กมลชัย รัตนสกาววงค์ และคณะ. (2548). การนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่องและครบองค์คณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). การพัฒนาระบบการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในการค้นหาความจริงเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

ดวงธมล คำวิโส. (2556). การไกล่เกลี่ยคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินในชั้นศาล: ศึกษาเฉพาะกรณีที่มีผู้เสียหาย (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

ทวีป ศรีน่วม. (2564). พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันนิติธรรมาลัย.

ทวีป ศรีน่วม. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันนิติธรรมาลัย.

เพลินตา ตันรังสรรค์, (2554). แนวทางการจัดแบ่งกลุ่มความผิดและโทษในประมวลกฎหมายอาญาไทย. วารสารจุลนิติ, 69-70.

ภัคพล ยุติธรรมดำรง. (2555). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการต่อรองคำรับสารภาพในการสอบสวนคดีพิเศษ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ชลบุรี.

มานิตย์ จุมปา. (2540). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

เมทินี ชโลธร. (2559). ระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องเปรียบเทียบของไทยกับต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักการต่างประเทศ. (2562). รายงานการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาระบบงานศาลเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักประธานศาลฎีกา. (2564). นโยบายประธานศาลฎีกา พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564, จาก https://opsc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/10/iid/217265

สำนักแผนงานและงบประมาณ. (2563). หนังสือรายงานสถิติคดีประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักพัฒนาระบบ. (2558). แนวทางการพิจารณาคดีครบองค์คณะและต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

กรอบแนวคิด_วันทนีย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-05-2022

How to Cite

คำคงศักดิ์ ว. (2022). การพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรม. จันทรเกษมสาร, 28(1), 1–14. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/251638