การผลิตซ้ำความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติผ่านตัวละครเอก “เติร์ด” ในนวนิยายวายออนไลน์เรื่อง “Y-DESTINY หรือเป็นที่พรหมลิขิต” ในฐานะสื่อวัฒนธรรมประชานิยม

ผู้แต่ง

  • อติวิชญ์ เซี่ยงคิ้ว โรงเรียนเซนต์คาเบรียล มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
  • สมบัติ สมศรีพลอย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ, นวนิยายวาย, การผลิตซ้ำ, สื่อวัฒนธรรมประชานิยม

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การผลิตซ้ำความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือ ธรรมชาติในนวนิยายวายออนไลน์เรื่อง “Y-DESTINY หรือเป็นที่พรหมลิขิต” ในฐานะสื่อวัฒนธรรม ประชานิยม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็น เครื่องมือ และใช้แนวคิดเรื่องการผลิตซ้ำวัฒนธรรมของเอกวิทย์ ณ ถลาง (2532) และวัชราภรณ์ ดิษฐป้าน (2557) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาตัวบทจากนวนิยายวายออนไลน์เรื่อง “Y-DESTINY หรือเป็นที่พรหมลิขิต” ของ MoreFIIN ทั้งหมดจำนวน 28 ตอน เผยแพร่ตอนแรก (ตอนที่ 1)- ตอนจบ (ตอนที่ 28) พร้อมกันเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผ่าน www.readawrite.com

           ผลการวิจัยพบว่า ที่มาของความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติในนวนิยายเรื่องนี้ มาจากความเชื่อเรื่องลักษณะประจำวันเกิดซึ่งเป็นแก่นสำคัญของเรื่อง โดยเฉพาะวันพฤหัสบดี ซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างจากวันอื่น คือ “มีสัมผัสพิเศษ” และ “ชอบเรื่องลี้ลับ” ผู้เขียนจึงสร้างเนื้อเรื่อง และเหตุการณ์ในเรื่องให้สอดคล้องกับลักษณะนิสัยของตัวละครเอก รวมทั้งใช้ความเชื่อเรื่องผี มาสร้าง “พรหมลิขิต” ที่เหนือธรรมชาติให้กับตัวละคร ส่วนประเด็นการผลิตซ้ำพบว่าผู้เขียน ได้นำความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติมาผลิตซ้ำใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การผลิตซ้ำ ความเชื่อเรื่องลักษณะของผี 2) การผลิตซ้ำความเชื่อเรื่องความสามารถของผี 3) การผลิตซ้ำ ความเชื่อเรื่องร่างทรง 4) การผลิตซ้ำความเชื่อเรื่องการเล่นผีถ้วยแก้ว และ 5) การผลิตซ้ำความเชื่อ เรื่องภพชาติ นวนิยายเรื่องนี้นำความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมไทยมาสร้างปมปัญหาและอุปสรรค ให้พระเอกและนายเอกฝ่าฟันร่วมกันตามขนบของนวนิยายวาย และแสดงให้เห็นบทบาทของผี และอำนาจเหนือธรรมชาติในการลิขิตชีวิตตัวละครแทน “พระพรหม” การผสานวัฒนธรรมนี้ ทำให้เนื้อเรื่องโดดเด่น อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการผลิตซ้ำความเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ ผ่าน “สื่อประชานิยม” ที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าในสังคม ประชานิยมเทคโนโลยีปัจจุบันกับความเชื่อเติบโตไปพร้อมกัน

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ 5. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญจิตร นุชชำนาญ, จารุวรรณ ธรรมวัตร, และชูศักดิ์ ศุกรนันทน. (2556). ความเชื่อเหนือธรรมชาติและการสร้างภาวะเหนือธรรมชาติในนวนิยายของกิ่งฉัตร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 55–63.

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2560). ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?. กรุงเทพฯ: มติชน.

จิธิวดี วิไลลอย และ อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2559). การปรับแปลงความหมายผีในละครโทรทัศน์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 34(2), 47-69.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2548). หนังผีไทยกับภาพสะท้อนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม, วารสารอักษรศาสตร์, 34(2),140-166.

ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2564). การดัดแปลงนวนิยายของกฤษณา อโศกศิลป์ในยุคโทรทัศน์ดิจิทัล. ใน นัทธนัย ประสานนาม (บรรณาธิการ). สุนทรียสหสื่อ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

ณัฐธนนท์ ศุขถุงทอง และ ภูวิน บุณยะเวชชีวิน. (2562). ซีรีส์วาย: ข้อพิจารณาเบื้องต้นทางสถิติ. Thai Journal of East Asian Studies, 23(2), 360–383.

เทพย์ สาริกบุตร, บาง เสมเสริมสุข, และอุระคินทร์ วิริยะบูรณะ. (2521). ตำราพรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ: ลูก ส.ธรรมภักดี.

นัทธนัย ประสานนาม. (2563). การเว้นระยะห่างทางเพศสถานะ: นวนิยายยาโออิของไทยในการเมืองเรื่องขนบวรรณกรรมกับการตีความ. วารสารศาสตร์, 13(3), 160–187.

พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ. (2563). แสงไฟ ความมืด และความกลัวในเรื่องผีของเหมเวชกร (ปลายทศวรรษ 2470 ถึงต้นทศวรรษ 2510. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 7(1), 60–85.

พระครูวิจิตรธรรมาทร (เรียน ติสฺสวํโส), สุวิน ทองปั้น, จรัส ลีกา, และอัจฉริยะ วงษ์คําซาว. (2562). การสังเคราะห์แนวคิดภพภูมิในพระไตรปิฎกที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 427–438.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พฤดี เพชรชนะและวิมลมาศ ปฤชากุล. (2562). ตัวละครผีที่ผูกติดกับสถานที่ในนวนิยายของ “แก้วเก้า”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 21–66.

เมธัส เอี่ยมผาสุก, เดชชาย แก้วอินทร์, นวัต เรืองไชยศรี, จริยาภรณ์ สินเจริญทวีโชติ, ตรีสุคนธ์ ศิริทรัพย์ และอรศุภางค์ คงพิทักษ์. (2560). เรื่องเล่าผีจากเว็บไซต์ Pantip.com: บริบทการสื่อสารและกลวิธี. วิวิธวรรณสาร, 1(3), 13–34.

ยศ สันตสมบัติ. (2559). มนุษย์กับวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ลดาวัลย์ ไข่คำ. (2564). การเมือง การพัฒนา และ PM2.5 ในกรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา และกรุงปักกิ่ง. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(1), 124–240.

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2557). พระอุปคุต: การสืบทอดและการผลิตซ้ำความเชื่อ ตำนานและพิธีกรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วริศา จันทร์ขำและขวัญฟ้า ศรีประพันธ์. (2560). การเปรียบเทียบความหมายผีในรายการโทรทัศน์ “คนอวดผี” กับความเชื่อเรื่องผีในสังคมไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 5(2), 46–70.

สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2553). รูปแบบและการใช้สื่อใหม่ (NEW MEDIA) และ “ความใหม่” ของสื่อใหม่. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 2(1), 145 – 156.

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์. (2562). พลวัตและการสืบสานตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิงยุคปัจจุบัน. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 69–96.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สิขรินทร์ สนิทชน. (2561). ส่องผี เลาะผ้า ในสาปภูษาและรอยไหม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 153–171.

สุจิต วงษ์เทศ. (2560). คำนำเสนอ. ใน คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุดาพร หงษ์นคร. (2539). ประเพณีพิธีกรรมการเข้าทรงพ่อพญาสี่เขี้ยวของชาวไทยยวนบ้านสีคิ้ว ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เสฐียรพงศ์ วรรณปก. (2562, 26 พฤษภาคม). เมื่อผมเล่นผีถ้วยแก้ว. [บทความ] สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/article/news_1508738

หลวงวิศาลดรุณกร. (2563). คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2532). การสืบทอดและปรับปรนวัฒนธรรมให้ทันสมัย ใน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สู่โฉมหน้าใหม่ของวัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

COPY A Bangkok Series. (2564). ภาพซีรีส์เรื่อง Y-DESTINY หรือเป็นที่พรหมลิขิต. [ภาพถ่าย] สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/copyabangkok

MoreFIIN (นามแฝง). (2563). นวนิยายออนไลน์ เรื่อง Y-DESTINY หรือเป็นที่พรหมลิขิต. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.readawrite.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2021