การศึกษาประเด็นการร้องเรียนด้านการบริการและการบริหาร ของหน่วยงานภาครัฐของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันดำรงธรรม Tracking ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชินวัตร พิมพา วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิรดี วงศ์ศิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เรื่องร้องเรียน, การบริหารจัดการภาครัฐ, นวัตกรรมภาครัฐ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นการร้องเรียนด้านการบริการและ การบริหารของหน่วยงานภาครัฐของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันดำรงธรรม Tracking ใช้ระเบียบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากฐานข้อมูลการร้องเรียนของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันดำรงธรรม Tracking ของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เรื่องร้องเรียนด้านการบริการและการบริหาร ของหน่วยงานภาครัฐของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันดำรงธรรม Tracking จำนวน 449 เรื่อง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นการร้องเรียนด้านการบริการและการบริหารของหน่วยงาน ภาครัฐของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันดำรงธรรม Tracking จำนวน 449 เรื่อง แบ่งกลุ่มเรื่อง ร้องเรียน 6 ประเด็น พบว่า ประเด็นเรื่องร้องเรียนที่มีจำนวนมากที่สุดเรียงลำดับจากมากที่สุด ไปน้อยที่สุด คือ 1) ประเด็นขอความช่วยเหลือ/ขอความเป็นธรรม จำนวน 271 เรื่อง ร้อยละ 60.36 2) ประเด็นสาธารณูปโภค จำนวน 65 เรื่อง ร้อยละ 14.47 3) ประเด็นกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ จำนวน 53 เรื่อง ร้อยละ 11.80 4) ประเด็นการบริหารงาน จำนวน 39 เรื่อง ร้อยละ 8.69 5) ประเด็น การบริการ จำนวน 17 เรื่อง ร้อยละ 3.79 และ 6) เรื่องอื่น ๆ จำนวน 4 เรื่อง ร้อยละ 0.89 โดย สาเหตุของการร้องเรียนวิเคราะห์จากหัวข้อเรื่องร้องเรียน รายละเอียดของการร้องเรียน และ วัตถุประสงค์ความต้องการของการร้องเรียน ได้แก่ 1) การไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ 2) ความล่าช้าในการดำเนินการ 3) การไม่ได้รับการบริการที่ดี 4) การพบเห็นการกระทำที่ผิด กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ 5) การต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และ 6) การไม่ได้รับ ความเป็นธรรม จึงร้องเรียนเพื่อให้ปรับปรุง แก้ไข ให้มีการบริการ การบริหารงานที่ดีขึ้นและ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กันตยา เพิ่มผล. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency development). (พิมพ์ครั้งที่ 3.) กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

กนกวรรณ สินลักษณทิพย์. (2552). ผลการพัฒนารูปแบบการรับฟังและการจัดการเสียงสะท้อนจาก ผู้รับบริการโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ.ศ.2552. ราชบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี.

จักรพันธ์ เตชะฤทธิ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด กรณีศึกษา ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์. (2563). รัฐประศาสนศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัตน์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 7-8.

ไทยรัฐ. (2562). มุมข้าราชการ : “ดำรงธรรม Tracking”. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1701056

ธงชัย คล้ายแสง. (2563). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 3-4.

ปัทมาพร ท่อชู. (2559) การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน (The Efficiency Development of Operation). วารสาร Industrial technology review, 22(282), 94-100.

ภานุพงษ์ ชูรัตน์ และศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม. (2563). บทบาทของชุมชนในการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษาอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 4-5.

ยุวนุช กุลาตี. (2554). การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐาน ISO/IEC17021:2006 ศึกษากรณี: สํานักงานรับรองระบบคุณภาพวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: สํานักงานรับรองระบบคุณภาพวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยพระบรมราชูปถัมภ์.

วีณา จีระแพทย์ เพ็ญพักตร์ อุทิศ และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2563). การสังเคราะห์ ความรู้จากคำร้องเรียนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลต่อสภาพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 6-7.

ศูนย์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบราชการไทย. (2560). ความหมายของนวัตกรรมภาครัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www2.opdc.go.th/psic/main.php?url=content&gp=1&mn=3.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน, 2564, จาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dga-019/dga-024/dga-029/

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่ รัฐบาลดิจิทัล. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.parliament.go.th /library.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). “ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580”. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563, จาก http://nscr.nesdc.go.th

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563, จาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th /files/Jba128/Article/ JBA128Somnuk.pdf

สรัล เลาหพันธ์. (2562). การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 6-7.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ และ ชินจิต ไชยธรรม. (2562). การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาครัฐสู่การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 6(2), 5-6.

อภิญญา ไลไธสงค์. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ กรณีศึกษา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

อนันท์ งามสะอาด. (2551). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2021