การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (รัฐประศาสนศาสตร์) คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิรดี วงศ์ศิริ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (พัฒนาสังคม) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, การส่งเสริมอาชีพ, การพัฒนาศักยภาพมนุษย์

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และ 2) เปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนระหว่างอาชีพที่แตกต่างกัน ในเขตพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ระดับปัจเจกบุคคล ขนาดของจำนวนของกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ 200 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชาชนผู้ที่มีอายุระหว่าง 46-59 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) ดำเนินการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอ้างอิงด้วยการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA
        ผลการวิจัย พบว่า 1) การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พบว่า ในภาพรวมประชาชนผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มีระดับการเตรียมความพร้อมในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.80 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสังคม ส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 55.50 เช่น การทำกิจกรรมอาสาสมัคร หรือการอยู่กับครอบครัว ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมในระดับมาก ร้อยละ 48.70 เช่น การลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและพยายามจัดการกับภาระหนี้สินที่มีอยู่ ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.00 เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ด้านที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมในระดับมาก ร้อยละ 49.50 เช่น การปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับวัยสูงอายุ และ 2) อาชีพที่แตกต่างกันของประชาชนผู้ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159

กฤษณะพงษ์ ดวงสุภา และสยัมภู ใสทา. (2564). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 17(1), 52-63.

กอปรกมล ศรีภิรมย์ และสหพัฒน์ บรัศว์รักษ์. (2563). การเตรียมความพร้อมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 13(1), 46-55.

ใกล้ฉัตร บูชาธรรม. (2564). การศึกษาการรับมือของผู้ประกอบกิจการที่พักและโรงแรมเนื่องจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 กรณีศึกษา โรงแรมห้าดาว และสามดาวในพัทยา จังหวัดชลบุรี (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

เครือมาศ ชาวไร่เงิน, มานพ ชูนิล และปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร. (2565). สมดุลสุขภาพกับการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(1), 152-162.

ดนุวัศ สาคริก และปนันดา จันทร์สุกรี. (2561). ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม สถาบัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อรายได้และรายจ่ายในภาคการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 16(2), 57-85.

ดารารัตน์ สุขแก้ว, สัมพันธุ์ จันทร์ดี, ประนอม ตั้งปรีชาพาณิชย์ และฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร. (2565). การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุตามอาชีพในจังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 4(1), 18-32.

ธนเดช สอนสะอาด, ชมภูนุช หุ่นนาค, พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, และวิพร เกตุแก้ว. (2560). ความสุขในการทำงานของข้าราชการไทย. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 43-51.

ธัญญาณี นิยมกิจ และพิศิษฐ์ ชัยสุวรรณถาวร. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดตราด. ใน การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 (หน้า 317-328). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พิชญา วงศ์ไวศยวรรณ, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ, วิชัย โถสุวรรณจินดา, รังสรรค์ ประเสริฐศรี, ปกรณ์ ปรียากร, พระปลัดสุระ ญาณธโร (จันทึก) และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2564). การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพของประชาชนในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 129-142.

พุทธชาติ แผนสมบุญ, โกศล จึงเสถียรทรัพย์ และธนวรรณ สาระรัมย์. (2561). การพัฒนาต้นแบบการปรับสภาพที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รวัฒน์ มันทรา, วิลัยพร ยาขามป้อม, สัญญา เนียมเปรม และกาญจนา ศรีบุรินทร์. (2564). การจัดการรูปแบบกิจกรรมการสร้างรายได้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุเทศบาลตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(56), 22-30.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). สังคม สูงอายุ...แบบสมบูรณ์ คนไทยพร้อมแล้วหรือยัง. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Aging-society-FB-30-04-21.aspx

สำนักงานจังหวัดหนองคาย. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://nongkhaipao.go.th/public/list/data/detail/id/3999/menu/1196/page/1/catid/2

สำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองหนองคาย. (2564). ประชากรแยกรายอายุ เดือนธันวาคม 2563. หนองคาย: สำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองหนองคาย.

สำนักงานแรงงานจังหวัดหนองคาย. (2565). แรงงานจังหวัดหนองคายเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://nongkhai.mol.go.th/news/แรงงานจังหวัดหนองคาย-เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์-ประจำปีงบประมาณ-พ-ศ-2565

สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สุขุมา อรุณจิต. (2563). แรงงานผู้สูงอายุ: อคติช่วงวัยกับความไม่เป็นธรรมทางสังคม. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 66 ปี เรื่อง สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (หน้า 328-341). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุปรียา สุขานคร. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์.

ณัฏฐญาณี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022