บทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จิราพร วาภพ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • สุภานี นวกุล สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, อุทยานแห่งชาติผาแต้ม, บทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ตัวอย่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.15, SD = 0.62) บทบาทด้านแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.27, SD = 0.61) รองลงมา คือ บทบาทด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.15, SD = 0.71) บทบาทด้านผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.12, SD = 0.70) และบทบาทด้านบริการอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.06, SD = 0.71) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบริหารจัดการกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฯ พบว่า ด้านการตลาด และด้านบุคลากร มีความสัมพันธ์กันในทางบวกที่ส่งผลต่อบทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ควรเพิ่มการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีทักษะภาษาต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมกลยุทธ์ความร่วมมือกับจังหวัดใกล้เคียง และจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดเพิ่มมากยิ่งขึ้น

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2560). แผนแม่บทอุทยานแห่งชาติแบบบูรณาการ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 2563 (Tourism Statistics 2020). สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก http://mots.go.th

กานต์ กัลป์ตินันท์. (2564). นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (4 กันยายน 2564). สัมภาษณ์.

กรุงเทพธุรกิจ. (2560). อุบลราชธานี ททท.เผยปีใหม่เงินสะพัด 63 ล้าน. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก http://bangkokbiznew.com

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555–2559. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก https://www.mots.go.th/download/ImplementationOfThePolicy/NotificationOfTheNationalTourismPolicy.pdf

ณัชญากัญจน์ รัตนวรกานต์. (2561). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(3), 179–202.

นิชนันท์ อ่อนรัตน์. (2561). นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 228-241.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2563). ททท. ปรับลดเป้าหมายจำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2563. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก https://kmc.exim.go.th/detail/economy-news/20200211153113

พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล, บุหงา ชูสุวรรณ และกระพัน ศรีงาน. (2550). รูปแบบการให้บริการนักท่องเที่ยวของผู้ประกอบการจำหน่ายของที่ระลึกในอีสานใต้. บุรีรัมย์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

รุ่งฤดี แย้มจรัส. (2564). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดระนอง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(1), 179-181.

วรนารถ ดวงอุดม. (2557). ความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 1(1), 35-53.

สมคิด บางโม. (2545). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมมาศ มีธรรม. (2564). นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (3 พฤศจิกายน 2564). สัมภาษณ์.

สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม. (2563). รับแสงแรกแห่งสยามประจำปี 2563. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564, จาก https://www.guideubon.com/2.0/go2ubon/first-sunrise-2020-ubon

สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน. อุบลราชธานี: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

สำนักงานพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2564). ข้อมูลรายงานสถิตินักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปอุทยานแห่งชาติ ประจำปี 2563. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จาก https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=20014

สุดใจ จันทำ. (2564). หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป, องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (4 กันยายน 2564). สัมภาษณ์.

หยี่ฟาง แซ่ฟาง. (2564). การนำนโยบายไปปฏิบัติในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 857-873.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560-2561. อุบลราชธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565. อุบลราชธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (2563). โครงการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป. (อัดสำเนา).

องค์การบริหารส่วนตำบลโขงเจียม. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก http://saokjlocal.go.th/data_8357

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-10-2022