การลดทอนคุณค่าตนเองของเพศชายผ่านการใช้อุปลักษณ์ในเพลงลูกทุ่งชายภายใต้บริบทสังคมแบบชายเป็นใหญ่

ผู้แต่ง

  • ภัทณิดา โสดาบัน สาขาภาษา คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

อุปลักษณ์, เพลงลูกทุ่ง, การลดคุณค่าตนเอง, แนวคิดชายเป็นใหญ่

บทคัดย่อ

สังคมไทยนับได้ว่ามีลักษณะของสังคมชายเป็นใหญ่มาอย่างยาวนาน การถูกกดขี่ของเพศหญิงถูกนำมาวิเคราะห์ผ่านการใช้ภาษาในสังคมและพบว่าเพศหญิงมีคุณสมบัติที่ด้อยกว่าเพศชายในทุกด้าน ดังนั้นเมื่อภาษาสามารถชี้ให้เห็นสถานะของเพศหญิงในสังคมได้ การศึกษาภาษาเพื่อวิเคราะห์สถานะของเพศชายก็ย่อมทำได้เช่นเดียวกัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบหรือกลวิธีทางภาษาที่จะถูกนำมาใช้เมื่อผู้ชายเป็นฝ่ายตกอยู่ในสถานะเป็นรองภายใต้ลักษณะสังคมชายเป็นใหญ่ โดยงานนี้จะวิเคราะห์การใช้อุปลักษณ์ในเพลงลูกทุ่งที่พูดถึงผู้ชายที่ผิดหวังจากความรัก

ผลการวิจัยพบว่า มีการใช้มโนอุปลักษณ์เพื่อลดทอนคุณค่าตนเองดังต่อไปนี้ 1) ชายผู้ผิดหวังในความรักคือสัตว์ 2) ชายผู้ผิดหวังในความรักคือของสิ่งไม่มีค่า และ 3) ชายผู้ผิดหวังในความรักคือผู้แพ้ในเกมการแข่งขัน อย่างไรก็ตามผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้ชายไม่อาจยอมตกอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่าได้ เนื่องจากอุปลักษณ์ที่พบไม่ได้เป็นความตั้งใจที่จะใช้เพื่อลดทอนคุณค่าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง และยังมีการตัดพ้อต่อว่าผู้หญิงไปในคราวเดียวกัน แต่การใช้อุปลักษณ์เหล่านั้นทำให้การตำหนิผู้หญิงถูกถ่ายทอดมาอย่างแยบคายเพื่อคงความเป็นสุภาพบุรุษตามความคาดหวังของสังคมชายเป็นใหญ่ไว้อีกด้วย

References

ชานันท์ ยอดหงษ์. (2555). “นายใน” ชีวิตทางสังคมและเพศสภาวะในพระราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2526). โสเภณีกับนโยบายของรัฐบาลไทย พ.ศ. 2411-2503 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธนัย เจริญกุล. (2551). การขนานนามสกุล:กลไกของรัฐในการสร้างสำนึกชาตินิยมและอัตลักษณ์ความเป็นชาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). ปิตาธิปไตย : ภาพสะท้อนแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงในสังคมเอเชีย, วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 4(2), 30-46.

นันดา วีรวิทยานุกูล. (2544). “ผู้หญิงกับอัตลักษณ์” สตรีศึกษา 2: ผู้หญิงกับประเด็นต่างๆ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

พลากร เจียมธีระนาถ. (2554). วาทกรรมชายเป็นใหญ่ในภาพยนตร์ไทยที่ให้ความสําคัญแก่สตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต. (2553). อุดมการณ์ทางเพศสภาพในพาดหัวข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์ไทย: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์. (2548). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับผู้หญิงในบทเพลงลูกทุ่งไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2558). การประกวดความงามกับระบบชายเป็นใหญ่ในพื้นที่สาธารณะ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 3(1), 83-105.

ศรณ์ชนก ศรแก้ว. (2560). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคคลที่สามของความรักในเพลงไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศิริพร ภักดีผาสุก. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bayisenge, J. (2015). Changing Gender Relations? Women’s Experiences of Land Rights in the Case of the Land Tenure Reform Program in Rwanda. Gothenburg: University of Gothenburg Press.

Charteris-Black, J. (2004). Corpus approaches to critical metaphorical analysis. Basingstoke/New York: Palgrave/Macmillan.

Fairclough, N. (1995). Media discourse. London: Arnold.

Fairclough, N. & Wodak, R. (1997). Critical Discourse Analysis. In Teun A. van Dijk (ed.), Discourse as social interaction. (271-280). London: Sage.

Lakoff, G & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago: Chicago university Press. Millett, K. (1971). Sexual politics. New York: Avon Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2022