การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ยุภาพร อำนาจ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ธนัสนี สมบูรณ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วัฒนาชัย มาลัย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการน้ำเกษตร, กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีสถานภาพเป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 400 ครัวเรือน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพทำการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมทั้งสิ้น 8 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารหรือผู้แทนหน่วยงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานชลประทานที่ 7 สำนักงานกรมทรัพยากรน้ำภาค 11 สำนักงานกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 11 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนประธานกลุ่มเกษตรกรชลประทานระบบท่อ และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในระดับน้อย ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะการถือครองที่ดิน การเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการจัดการน้ำ พบว่า มีปัญหาการเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผน การแสดงความคิดเห็น ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการน้ำ การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการน้ำ ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานภาครัฐควรเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ร่วมแสดงความคิดเห็น เข้าประชุมและอบรม ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยมุ่งเน้นให้ทราบถึงประโยชน์ และปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำให้แก่เกษตรกรได้รับทราบควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ

References

กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. (2564, 21 มิถุนายน). รายละเอียดสถานที่ดำเนินงานตามโครงการเอาชนะความแห้งแล้งด้วยชลประทานระบบท่อ. https://ubonpao.ubon.go.th/indexg05.php

จุฑามาศ อ่อนวงศ์. (2554). ความรู้ ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชายเลน กรณีศึกษา: บ้านธารน้ำร้อน ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฏร์ธานี [การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ที่ทำการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี. (2564, 21 มิถุนายน). จำนวนครัวเรือนจังหวัดอุบลราชธานี. http://www.ubondopa.com/

ธีรพล พงษ์บัว. (2561). เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พันธ์รักษ์ ผูกพัน. (2562). ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนศิลาแลงและป่าชุมชนสะเอียบ. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 1(3), 43-63.

วรงศ์ นัยวินิจ, วันเพ็ญ สุวรรณา, สถิต เสนา, และ ดวงมณี นารีนุช. (2558). กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้สามารถบริหารจัดการน้ำชลประทานระบบท่อได้อย่างมีประสิทธิภาพตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(1), 4-18.

วันเพ็ญ วรวงศ์พงศา, ธิติมา วงษ์ซีรี และ วาสนา มานิช. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชน ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(1), 170-182.

วัฒนา หวั่งประดิษฐ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันมลพิษจากการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของโรงไฟฟ้า BLCP นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง [การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิรดา ชื่นสมบัติ. (2565, 10 กุมภาพันธ์). รายงานการคาดการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ทำการเกษตร ปี 2564. http://irw101.ldd.go.th/images/dro_Book64.pdf

สุฑาทิพย์ อิงบุญ. (2556). การมีส่วนร่วมของเกษตรการที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ในตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยบริการ, 24(1), 1-11.

สุธรรมา จันทรา. (2556). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำจากโครงการชลประทานแม่น้ำชี กรณีศึกษาโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกุดแข้ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยบริการ, 24(1), 72-83.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. Cornell University Press.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology. 140, 1-55.

Yamane, T. (1973). Statistics, an Introductory Analysis. (3th ed). Harper and Row.

ยุภาพร66

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-03-2023