พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • จิตตานันท์ สิทธิสาร สาขาวิชาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อำนาจ สวัสดิ์นะที สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • เพลินพิศ ยะสินธิ์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ผักปลอดภัย, ผักทั่วไป, พฤติกรรมการบริโภค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผักปลอดภัยของประชาชนตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ระหว่างผู้เลือกบริโภคผักทั่วไป และผู้เลือกบริโภคผักปลอดภัย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสิ่งที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อผักปลอดภัย กับพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิจัยใช้วิธีการสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อาศัยอยู่ในตำบลบ้านเชี่ยน จาก 12 หมู่บ้าน จำนวน 385 คน ได้มาจากการแทนค่าสูตรของทาโร่ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มอย่างแบบมีชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยกำหนดสัดส่วนการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้านของตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลังจากนั้น จึงเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ในด้านพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน พบว่า คุณลักษณะที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อผัก คือ ความสะอาด มีการล้างผักก่อนบริโภคด้วยน้ำสะอาดเป็นส่วนใหญ่ และผักปลอดภัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามในตำบลบ้านเชี่ยนเลือกซื้อเป็นประจำ 5 อันดับแรก คือ แตงกวา พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ และคะน้า ตามลำดับ 2) ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผักปลอดภัยของผู้บริโภคผักทั่วไปและผู้บริโภคผักปลอดภัย พบว่า ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผักปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นเพียงด้านเดียว คือ ด้านผักปลอดภัย ปราศจากการปรับปรุงและตัดต่อพันธุกรรม ที่ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ 3) ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสิ่งที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อผักปลอดภัย กับพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับผักปลอดภัยที่เลือกซื้อเป็นประจำ (x2 = 21.685, p = .041) และเหตุผลในการเลือกซื้อผักปลอดภัย (x2 = 26.881, p = .003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรรณิการ์ คงวาริน และจินตนีย์ รู้ซื่อ. (2563). พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 7(1), 50-77.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557, 17 มีนาคม). ปัญหาของชาวนา. http://hiirunyiga.blogspot.com/2014/03/blog-post.html.

จุฬาลักษณ์ ตลับนาค, เพลินพิศ ยะสินธิ์ และอำนาจ สวัสดิ์นะที. (2564). การประเมินความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรผู้ปลูกผัก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารเกษตรพระวรุณ, 18(1), 104-110.

ดุษฎี พรหมทัต. (2558). พฤติกรรมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(3), 9-16.

พิมพ์กานต์ดา เทพวงษ์. (2556). การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัสสรกันต์ ทรัพย์มหาโชค และกีรติ กมลประเทืองกร. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม. วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม, 2(1), 11-19.

ลออรัตน์ จิตต์พงษ์, เบญญาภา กาลเขว้า และประทีป กาลเขว้า. (2562). พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชน บ้านแสนสำราญ ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสภาการสาธารณะชุมชน, 1(1), 53-60.

สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยน. (2564, 19 กันยายน). https://www.banchian.go.th/home

สุมิตร สุวรรณ, บรรจบ ภิรมย์คำ และอรพรรณ ศังขจันทรานนท์. (2565, 4 ธันวาคม). การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสำหรับอาหารกลางวัน ของโรงเรียนขนาดเล็กตามโครงการ 9 บวร. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/KPS_EDU/search_detail/result/403084

อริศรา รุ่งแสง. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

อรุณี เวียงแสง, จินตนา โพธิ์ทิพย์ และสมชัย แซ่ตั๊น. (2551). การจัดการตลาดผักปลอดสารพิษที่เหมาะสมและเป็นธรรมในช่วงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสู่เกษตรกรรมยั่งยืนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Yamane, T. (1967). Statistic and Introductory Analysis (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2023