การสื่อสารสุขภาพเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร ทางสื่อออนไลน์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัชชา พัฒนะนุกิจ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กนกรัตน์ ยศไกร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • รัชนี จันทร์เกษ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  • วัชราภรณ์ นิลเพ็ชร์ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  • พรเพ็ญ ชวลิตธาดา หลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การสื่อสารสุขภาพ, การแพทย์แผนไทย, การแพทย์ทางเลือก, สมุนไพร, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสื่อสารสุขภาพเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรบนสื่อออนไลน์ในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ตัวแทนประชากรไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทั้ง 6 ภูมิภาค ใน 77 จังหวัด จำนวน 3,750 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารสุขภาพเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ ทำงานขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมผลิตสื่อและเนื้อหาเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนใช้สื่อออนไลน์เพื่อบริหารจัดการสื่อสารได้ทันท่วงที ปัญหาด้านกระบวนการสื่อสาร พบว่า ต้องมีบุคคลที่มีชื่อเสียงมาช่วยสื่อสารกับประชาชน ปัญหาการปิดการมองเห็นในสื่อเฟซบุ๊กของกรมการแพทย์แผนไทยฯ ส่งผลให้ข้อมูลข่าวสารไม่กระจายไปยังสาธารณชน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.88 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การได้รับข่าวสารจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกรมการแพทย์แผนไทยฯ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96 รองลงมา คือ ประชาชนมั่นใจคำปรึกษาทางออนไลน์ของบุคลากรทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.92 และ 3) แนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ฯ ควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านสื่อสังคมออนไลน์ ควรผลิตเนื้อหาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ควรจัดทำเนื้อหาที่เหมาะกับแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ และควรจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพที่สืบค้นบนสื่อออนไลน์ได้สะดวกทันเวลา

Author Biography

รัชนี จันทร์เกษ, กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

 

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/o9jeW

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). เกณฑ์แบ่งประชากรไทย ของ ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/olSOV

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). แนะการใช้ "สมุนไพรไทย" รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/960841

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: กระบวนการ ปฏิบัติการ เครื่องมือประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ไอดี ออก ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด.

ทันกระแสสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). น้ำสมุนไพรยอดฮิตกับเชื้อ COVID-19. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1486

เบญจวรรณ สอนอาจ. (2562). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม สุขภาพ ของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

เมธาวี จำเนียร และเมธี แก้วสนิท. (2561). การสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(2), 155-159.

เหมือนฝัน ไม่สูญผล (2557). กระบวนการสื่อสารสุขภาพในบริบทการแพทย์แผนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-184.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2564). ผนึกแผนโลก-ระดมแผนชาติสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/AmdMV

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). การแบ่งภูมิภาคประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก http://www.nesdc.go.th

สำนักทะเบียนกรมการปกครอง, (2565). ประชากรศาสตร์ไทย. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/fhEBS

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2564). การสร้างสรรค์สื่อเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(3), 109-120.

อรทัย รุ่งวชิรา, วิไลลักษณ์ ลังกา, รุ่งทิวา แย้มรุ่ง, และสุนีย์ ละกำปั่น. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(2), 54-67.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Kickbusch, L., Jürgen M. P., Franklin, A. & Agis D. T. (2013). Health literacy: The solid facts. Copenhagen: World Health Organization Regional Office for Europe. Retrieved September 14, 2021, from https://shorturl.asia/qdwU1

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(2), 607.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley& Son.Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley& Son.

Merrill, J., C., and Lowenstein, R. L. (1971). Media, messages, and men: New perspectives in communication. New York: David McKay Company.

Pleasant, A. (2012). Health literacy around the world: Part health literacy efforts outside of the United States. Retrieved September 18, 2021, from https://shorturl.asia/IkRA0

Ratzan, S. C. (2012). Policies and programs promoting health literacy globally. Presentation at the institute of medicine workshop on health literacy: Improving health, health systems, and health policy around the world. Retrieved September 18, 2021, from https://shorturl.asia/CnEru

Vamos, S. (2012). Health literacy in Canada. Presentation at the institute of medicine workshop on health literacy: Improving health, health systems, and health policy around the world. Retrieved September 18, 2021, from https://shorturl.asia/yVjaA

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2022