ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต
คำสำคัญ:
การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต, การคุ้มครอง, กฎหมายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปัญหาอันเกิดจากการที่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์บทบัญญัติเรื่องการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศไทยและประเทศแคนาดา 3) เพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตอย่างเหมาะสม และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลจากตำรา งานวิจัย บทความวิชาการและสรุปผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยไม่มีกฎหมายป้องกันการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (cyber-bullying)ไว้ ควรแก้ไขให้มีกฎหมายการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ 2) การเปรียบเทียบและการวิเคราะห์กฎหมายการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศไทยและประเทศแคนาดา ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางกฎหมายหลายประการ เช่น นิยามของการถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต สิทธิของผู้เสียหาย และข้อต่อสู้ของผู้กลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต 3) เพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตของเด็กอย่างเหมาะสม ควรจะแก้ไขเพิ่มเติม (1) คำนิยามของการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (2) สิทธิของผู้ถูกกระทำการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (3) ข้อต่อสู้ของผู้กระทำการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต
References
ดวงเด่น นาคสีหราช. (2561). ทัศนคติและปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย: ศึกษากรณีนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. CMU Journal of Law and Social Sciences, 12(1), 135-171.
ฟ้าใส สามารถ และคณาธิป ทองรวีวงศ์. (2564). หลักการทางกฎหมายของประเทศไทยในการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อออนไลน์. วารสารการบริหารปกครอง, 10(1), 78–100.
วรณัน ดาราพงษ์. (2564). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ในกรณีเด็กและเยาวชน. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 14(1), 75–98.
สาวตรี สุขศรี. (2561). อาชญากรรมความรุนแรงบนอินเทอร์เน็ต. วารสารนิติศาสตร์, 47(2), 268–300.
Department of Justice. (2022).Report on the review of the intimate images and cyber-protection act. Crown Publishing.
Hörnle, J., & Schmidt-Kassen, M. (2018). The criminalisation of abusive and offensive communication in German law. UK Law Commission.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว