การคุกคามทางเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร: การศึกษาในฐานะผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ

ผู้แต่ง

  • อนุพงศ์ สุขเกษม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนนนทรีวิทยา

คำสำคัญ:

การคุกคามทางเพศ, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การคุกคามทางเพศเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ควรมีผู้ใดกระทำและได้รับการกระทำ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของการกระทำและถูกกระทำพฤติกรรมคุกคามทางเพศของนักเรียน จำแนกตามเพศสรีระ เพศวิถี และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้ามาร่วมตอบแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 1,006 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และสถิติทดสอบไคว์สแควร์แบบการทดสอบความเป็นเอกพันธ์ ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกระทำพฤติกรรมคุกคามทางเพศกับเพื่อนมากที่สุดและโดนกระทำพฤติกรรมทางเพศจากเพื่อนมากที่สุดเช่นกัน โดยส่วนใหญ่พฤติกรรมที่กระทำและโดนกระทำ คือ การคุกคามทางเพศทางวาจา ได้แก่ การเล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ การวิจารณ์รูปร่าง สัดส่วนของร่างกายและอวัยวะของอีกฝ่าย และการพูดจาล่วงเกินกับอีกฝ่ายที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของการกระทำพฤติกรรมคุกคามทางเพศ พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีสัดส่วนของการกระทำคุกคามทางเพศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการจำแนกด้วยเพศวิถีและระดับการศึกษามีสัดส่วนไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบสัดส่วนของการถูกกระทำ พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิง นักเรียนกลุ่มรักเพศตรงข้ามและนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีสัดส่วนของการโดนกระทำคุกคามเพศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงในการคุกคามทางเพศ ในหมู่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้นสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา จึงมีบทบาทสำคัญในการให้นักเรียนตระหนัก และรับรู้ถึงพฤติกรรมการคุกคามทางเพศว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ที่ไม่ควรมีใครกระทำ และไม่ควรมีใครเป็นผู้ถูกกระทำ

References

กฤษณาพร แจ่มจิตร. (2564). การโดนคุกคามทางเพศของนักศึกษาในสถานที่บันเทิง เขตบางพลัด. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม, 3(2), 1-10.

งานตรวจสอบภายในและงานนิติกร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงานของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์.

ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2557). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.

ไชโย นิธิอุบัติ. (2563). การถูกคุกคามทางเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิงในนวนิยายภายใต้สังคมที่เปลี่ยนแปลง. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

นิชา ภุมมา. (2563). พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อการเกิดภัยคุกคามทางเพศ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปณิธี บราวน์. (2557). ความหลากหลายทางเพศกับพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย: การสำรวจองค์ความรู้. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 44(2), 51-70.

สมสรรค์ อธิเวสส์. (2557). การคุกคามทางเพศบนสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(3), 901-916.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง. มูลนิธิส่งเสริมสื่อและเยาวชน.

สกล วรเจริญศรี. (2559). การข่มเหงรังแก. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 51(2559), 13-20.

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). จิตวิทยาและวิทยาการเรียนรู้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวรา แก้วนุ้ย และทักษพล ธรรมรังสี. (2558). พฤติกรรมการคุกคามทางเพศในกลุ่มเด็กและเยาวชนภายใต้อิทธิพลการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 5(2), 233-243.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2552). การคุกคามทางเพศในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร: สาเหตุและข้อเสนอทางนโยบาย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1), 31-47.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Prentice Hall.

Center for Victim Advocacy and Violence Prevention. (2010). Sexual Harassment. University of South Florida. https://www.usf.edu/student-affairs/victim-advocacy/types-of-crimes/sexualharassment.pdf

Civil Rights Department, State of California. (2022). Sexual Harassment. https://calcivilrights.ca.gov/wp-content/uploads/sites/32/2020/03/Sexual-Harassment-Fact-Sheet_ENG.pdf

International Labour Organization. (2012). Sexual harassment in the world of work. https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---dgreports/---gender/documents/briefingnote/wcms_738115.pdf

National Partnership for Women & Families. (2023). Sexual Harassment and the Gender Wage Gap. https://www.nationalpartnership.org/our-work/resources/economic-justice/fair-pay/sexual-harassment-and-the-gender-wage-gap.pdf

Weinberg, J. D., & Nielsen, L. B. (2017). What is Sexual Harassment? An Empirical Study of Perceptions of Ordinary People and Judges. Saint Louis University Public Law Review, 36(1), 38-58.

World Health Organization (2012). Sexual violence. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/77434/WHO_RHR_12.37_eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-10-2024