ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจโฮสเทลในจังหวัดเชียงใหม่ตามการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่

ผู้แต่ง

  • จิรวรรณ บุญมี สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ธวัชชัย บุญมี สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้ใช้บริการ, โฮสเทล, ท่องเที่ยววิถีปกติใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจโฮสเทลตามการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านธุรกิจโฮสเทล จากผู้ประกอบการธุรกิจโฮสเทลที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินการปฏิบัติตามมาตรการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ หลังจากนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ และความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการธุรกิจโฮสเทลตามการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ จากลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ของธุรกิจโฮสเทลในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจโฮสเทลตามการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ เชื้อชาติ เหตุผลที่เข้าพัก จำนวนคืนที่เข้าพัก ประเภทห้องพัก จำนวนผู้เข้าพัก ประเภทลูกค้า ความเครียดและความกังวลใจต่อสถานการณ์โควิด-19 ปัจจัยด้านธุรกิจโฮสเทลที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจโฮสเทลตามการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ รูปแบบการประกอบธุรกิจ อายุธุรกิจ การไม่มีสาขา จำนวนผู้ให้บริการ การได้รับมาตรฐาน SHA และการปฏิบัติตามมาตรการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่

References

กานต์พิชชา พัฒนากิจธนโชติ และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2565). แบบจําลองสมการโครงสร้างผลกระทบของคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจความไว้วางใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจอีคอมเมิร์ซ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 16(24), 29-48.

เกียรติศักดิ์ จันทร์แก้ว. (2564, 29 มกราคม). สถานการณ์โควิด-19 และประเด็นที่ส่งผลต่อ SMEs. https://tdri.or.th/2021/01/covid-58/

ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2559). การสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าในธุรกิจโรงแรม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 9(2), 154-168.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์, และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

ธวัชชัย บุญมี และจิรวรรณ บุญมี. (2566). การจัดการธุรกิจโฮสเทลในจังหวัดเชียงใหม่ตามการท่องเที่ยววิถีใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 40(2), 31-60.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

บุญนิดา แก้วกิริยา และรุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 3(16), 3-11.

ปราชญ์ ปุณณศุภารมย์ และขวัญฤทัย ครองยุติ. (2564). ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้าพักโฮสเทล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 183-199.

พุทธชาด ลุนคำ และรชฏ เลียงจันทร์. (2564, 8 มกราคม). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. https://www.krungsri.com/getmedia/ab21638a-4089-4bb4-bb8a-62ba89d2c7da/RI_Future_of_Tourism_210121_TH.pdf.aspx

ภูษณิศา ทิพย์วงศ์, นิรมล พรมนิล, และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2566). แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(1), 111-125.

รชฏ เลียงจันทร์. (2564, 18 ตุลาคม). เปิดท่องเที่ยวไทยอย่างไรให้ได้สมดุลระหว่างเศรษฐกิจและการติดเชื้อ. https://www.krungsri.com/getmedia/cff0f9aa-cde7-4bd1-88b0-f90e7b6834d7/RI_Restarting_Tourism_211018_TH.pdf.aspx

วัชรพงศ์ รติสุขพิมล. (2562). การวิเคราะห์ธุรกิจโฮสเทลในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร: โครงสร้างตลาดและการแข่งขัน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(1), 43-62.

ศิริรัตน์ โกศการิกา. (2564). กลยุทธ์การฟื้นฟูการให้บริการธุรกิจร้านอาหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในบริการ และความเชื่อมั่นในตราสินค้าในภาวะวิกฤติโควิด-19 ของประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(23), 1-20.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2565). รูปแบบการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ New normal. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 89-104.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุนทรีย์ ศิริจันทร์ และกมลทิพย์ คำใจ. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2(1), 11-21.

สุเมธ กมลศิริวัฒน์ และบุษรา โพวาทอง. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA ต่อผลกระทบ COVID-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563. สาระศาสตร์, 4(3), 650-663.

เสาวณี จันทะพงษ์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2564, 26 ตุลาคม). ผลกระทบและการปรับตัว (Resilience) ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารช่วงโควิด-19: วิเคราะห์จากหลักคิด Outside-In. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_26Oct2021.pdf

เหลียว คุน, วินิตรา ลีละพัฒนา, กีรติ ตระการศิริวานิช, ยุทธการ ไวยอาภา, และสุธีรา สิทธิกุล. (2565). รูปแบบการปรับตัวเชิงบริหารของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กใน สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(2), 178-187.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Mirzaei, R., Sadin, M., & Pedram, M. (2023). Tourism and COVID-19: changes in travel patterns and tourists' behavior in Iran. Journal of Tourism Futures, 9(1), 49-61.

Saydam, M. B., Olorunsola, V. O., Avci, T., Dambo, T. H., & Beyar, K. (2022). How about the service perception during the COVID-19 pandemic: an analysis of tourist experiences from user-generated content on TripAdvisor. Tourism Critiques, 3(1), 16-41.

Yang, Y., Lin, M. S., & Magnini, V. P. (2024). Do guests care more about hotel cleanliness during COVID-19? Understanding factors associated with cleanliness importance of hotel guests.

International Journal of Contemporary Hospitality Management, 36(1), 239-258.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2024