รูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ดวงพร พุทธวงค์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ฐิติมา พูลเพชร สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นฤมล จิตรเอื้อ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การจัดการ, นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยมีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 10 คน จากตัวแทนภาคการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวทั้งในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนในจังหวัดชลบุรี และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองลงมา ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดใจ และมาตรฐานคุณภาพด้านที่พัก โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วยไค-สแควร์ (gif.latex?x^{2}) เท่ากับ 96.548 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p-value เท่ากับ 0.090 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (gif.latex?x^{2}/df) เท่ากับ 1.265 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 0.997 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.975 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.945 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกําลังสองของการประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.027 และ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพควรมุ่งเน้นการจัดทำเทคโนโลยีการสื่อสารทางการตลาดให้กับชุมชนท่องเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 15 มิถุนายน). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. https://www.mots.go.th/images/v2022_1683599292826UmVwb3J0TWFyIDY1Lnhsc3g=.xlsx

สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566, 10 พฤษภาคม). รายงานสถานการณ์ MSME ไตรมาสที่ 1 ปี 2566. https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=215&cid=569

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

นฤมล รัตนไพจิตร, ราตรี เขียวรอด และตรีวนันท์ เนื่องอุทัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช [รายงานการวิจัย]. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สิริกันต์ สิทธิไทย. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนในรูปแบบการพำนักระยะยาว (Long Stay Wellness Tourism) เพื่อความยั่งยืนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Global Wellness Institute. (2014). Global Spa & Wellness Economy Monitor. Global Wellness Institute.

Global Wellness Institute (2023). (2566, 20 มกราคม). THE 2023 GLOBAL WELLNESS ECONOMY MONITOR. https://globalwellnessinstitute.org/the-2023-global-wellness-economy-monitor/

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Prentice-Hall International.

Yin, R. K. (2003). Case Study Research: Design and Methods. (3rd ed.). Sage Thousand Oaks.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023