กระบวนการขับเคลื่อนศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมจากเสื่อกก บ้านห้วยตาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ไทยโรจน์ พวงมณี สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • คชสีห์ เจริญสุข สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พชรมณ ใจงามดี สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • นัยนา อรรจนาทร สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

กระบวนการขับเคลื่อน, ศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน, การพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมจากเสื่อกก บ้านห้วยตาด และ 2) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมจากเสื่อกก บ้านห้วยตาด อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการเจาะจง ดังนี้ นักพัฒนาชุมชน นักออกแบบและพัฒนา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน และวัฒนธรรมอำเภอ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประเด็นการสนทนากลุ่ม และประเด็นการประชุมเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมจากเสื่อกกบ้านห้วยตาด เกิดจากการรวมตัวกันของปราชญ์ท้องถิ่น ตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อสร้างรายได้เสริมจากงานเกษตรกรรม ระยะแรกทำการทอเฉพาะเสื่อกก ต่อมาได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ซื้อและเป้าหมาย ด้วยสถานการณ์โควิด 19 และสภาพทางเศรษฐกิจทำให้สมาชิกกลุ่มบางส่วนหยุดการผลิต ซึ่งด้านจุดแข็งของกลุ่ม คือ มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิตงานต้นแบบได้ จุดอ่อน คือ ผลิตภัณฑ์ขาดอัตลักษณ์ ส่วนความต้องการพัฒนา คือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีอัตลักษณ์ชุมชน และ 2) กระบวนการขับเคลื่อนศักยภาพกลุ่มหัตถกรรมจากเสื่อกกบ้านห้วยตาด ใช้กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพกลุ่มด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สภาพปัญหา ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ SWOT analysis และ TOW matrix เพื่อกำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนกลุ่ม ขั้นที่ 3 การตรวจสอบและประเมินกลยุทธ์การขับเคลื่อนกลุ่ม ขั้นที่ 4 การนำกลยุทธ์มาสู่การทดลองปฏิบัติการ และ ขั้นที่ 5 การติดตามและวิจารณ์ผลการพัฒนาด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของสมาชิกและเครือข่ายความร่วมมือ

References

ไทยโรจน์ พวงมณี, คชสีห์ เจริญสุข, พชรมณ ใจงามดี และณศิริ ศิริพริมา. (2565ก). การกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทอผ้าพื้นบ้านกลุ่มฝ้ายตุ่ย บ้านหนองบัว ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 4(2), 67-92.

ไทยโรจน์ พวงมณี, จารุวัลย์ รักษ์มณี, มาริษา ภิรมย์แทน เดอ เบลส์ และสมิง ศรีกา. (2565ข). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา, 17(61), 89-98.

ประชิด ทิณบุตร และนรรชนภ ทาสุวรรณ. (2561). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 126-141.

ประชิด ทิณบุตร. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กจังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(44), 143-158.

ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์ และภัทรวดี อินทปันตี. (2562). การถ่ายทอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านหัตถกรรมผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดบ้านห้วยลึก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(1), 61-75.

วินัยธร วิชัยดิษฐ์. (2560). การจัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารจันทรเกษมสาร, 23(45), 17-32.

สายฝน ไชยศรี, สุวรรณี พรหมศิริ และวินัย รังสินันท์. (2566). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) ในจังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(1), 71-81.

สุรพล พหลภาคย์, จุฑาทิพย์ พหลภาคย์ และนิยม บุญพิคํา. (2554). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่น ตามกระบวนการวิสาหกิจชุมชน. วารสารจันทรเกษมสาร, 17(33), 31-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2024