การเสริมสร้างความสามารถการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยเทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • พงศ์วัชร ฟองกันทา สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

คำสำคัญ:

การเรียนรู้สืบเสาะ, เทคโนโลยีบูรณาการสร้างภาพ, ความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบสืบเสาะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบสืบเสาะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.00/80.00 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้เทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม และ 3) ศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบสืบเสาะของผู้เรียนหลังใช้เทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากชั้นเรียน แผนการทดลอง One Group Pretest–Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ คือ แอปพลิเคชันการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพ 80.00/82.00 เป็นไปตามเกณฑ์ 80.00/80.00 2) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกด้วยเทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่รับการฝึกด้วยเทคโนโลยีบูรณาการการสร้างภาพมีความสามารถในการเรียนรู้แบบสืบเสาะอยู่ในระดับมาก (M = 4.20) ด้านที่สูงสุด คือ ด้านการสร้างความสนใจ (M = 4.25)

References

กรัณฑรักข์ วิทยอภิบาลกุล. (2563). ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา : องค์ประกอบสำคัญของทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(2), 167-182.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 8). พี บาลานซ์ดีไซน์ แอนปริ้นติ้ง.

ธีระยุทธ์ หมันหลี. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สำหรับนิสิตแพทย์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการออกแบบและพัฒนามัลติมีเดีย เพื่อพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ในการผลิตสื่อของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จ.ลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8(3), 553–565.

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2564). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้. ดีเซมเบอรี่ จำกัด.

วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพ การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์. (2562). “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”: อยู่รอดแม้จุดยืนมนุษย์สั่นคลอน ในโลกดิจิทัลที่ไม่ย้อนกลับหลัง. เน็คเทค.

Banks, A. J. (1995). Multicultural Education and Curriculum Transformation. The Journal of Negro Education. 64(4), 390-400.

Colette, B. (2019). The BSCS 5 E Instructional Model: Origins and Effectiveness. A report prepared for the Office of Science Education, National Institutes of Health, 1(2), 78-90.

Gholam, A. (2019). Inquiry-Based Learning: Student Teachers’ Challenges and Perceptions. Journal of Inquiry & Action in Education. 10(2), 112-133.

Goldston, M., & Dantzler, J. (2021). Psychometric analysis of a 5E learning cycle lesson plan assessment instrument. International Journal of Science and Mathematics Education. 8, 633–648.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Wiley & Son.

Gerges, E. (2022). How to Use the 5E Model in Your Science Classroom. EdTech Team Press.

Needham, J. (2015). The Teacher of Nations. Cambridge University Press.

Rahmi, Y. L., & Alberida, H. (2019). Enhancing students’ critical thinking skills through inquiry-based learning model. Journal of Physics: Conference Series. 1(2), 1-6.

Trilling, B., & Fadel, C. (2021). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. John Wiley & Sons Inc.

Yamthap, S., & Siriphon, A. (2022). Digital Journalism and News and Feature Video Writing in the 21st Century. Journal of Business, Economics and Communications. 17(3), 19-31.

Zepeda, S. J., & Mayers, R. S. (2020). Supervision Across the Content Areas. Routledge Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-08-2024