บรรณาธิการแถลง
บทคัดย่อ
วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) พ.ศ. 2566 เป็นวารสารระดับชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 โดยวารสารจันทรเกษมสารมีความมุ่งหวังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลทางการวิจัย และข้อมูลทางวิชาการสำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ วารสารฉบับนี้ได้นำเสนอบทความทั้งหมด 10 เรื่อง ที่มีประโยชน์ต่อวงวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบไปด้วย
บทความวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง คือ “พระศยามตาราโพธิสัตว์: ที่มา ประติมานวิทยาความเชื่อของชาวพุทธทิเบตและไทย” ที่ได้นำเสนอเรื่องราวของพระศยามตาราโพธิสัตว์พระโพธิสัตว์ในรูปของสตรีที่ได้รับความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ผ่านการศึกษาโดยสืบค้นประวัติ การวิเคราะห์ความหมายของสัญลักษณ์และภาพจิตรกรรม รวมไปถึงร่องรอยการบูชาพระโพธิสัตว์ในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
บทความวิจัย จำนวน 9 เรื่อง ดังนี้
1) เรื่อง “การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี” ที่ได้สะท้อนให้เห็นระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนล่างของจังหวัดอุบลราชธานี
2) เรื่อง “อิทธิพลของปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” ที่ได้นำเสนอลักษณะขององค์กรและปัจจัยองค์กรที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าของ SMEs ที่ตั้งอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
3) เรื่อง “ทัศนคติของกลุ่มคน Generation Z ต่อการทำงานในระบบราชการ” ได้สะท้อนมุมมองของคนเจเนอเรชัน Z ที่เป็นกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ต่อการทำงานในระบบราชการ
4) เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา” ที่ได้นำนวัตกรรมการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา มาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6
5) เรื่อง “ภาษาในป้ายห้ามของไทย: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์ภาษา” สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในป้ายห้ามหรือป้ายประกาศสาธารณะของประเทศไทย
6) เรื่อง “กลวิธีทางภาษาที่สื่อภาพตัวแทนครูผ่านมุมมองและน้ำเสียงของรัฐในวาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย” ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาและภาพตัวแทนครู โดยวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่อภาพตัวแทนครูจากข่าวที่นำเสนอผ่านมุมมองและน้ำเสียงของรัฐที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันไทย
7) เรื่อง “การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและเครือข่าย” สะท้อนให้เห็นรูปแบบการบริหารการวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี โดยใช้หลักการ PDCA และ ABC
8) เรื่อง “ความคิดเห็นและการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดหนึ่ง ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ต่อประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563” ศึกษาความคิดเห็นและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีตามประกาศประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563
9) เรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต” ที่ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศไทยและประเทศแคนาดา เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้ในพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยให้มีความเหมาะสม
ทางกองบรรณาธิการขอขอบคุณเจ้าของบทความวิชาการและบทความวิจัยทุกท่านที่ให้ความสนใจลงเผยแพร่ในวารสารจันทรเกษมสาร รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ในการพิจารณา กลั่นกรอง และให้ข้อเสนอแนะแก่เจ้าของบทความ เพื่อให้วารสารจันทรเกษมสารได้บทความที่มีคุณภาพสำหรับผู้ที่สนใจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว