การศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและสภาพปัญหาของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อการดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียน

ผู้แต่ง

  • นูรวานี กาเหร็มกา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จริญญา พรหมจินดา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อมราวรรณ เพ็ญตระการ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการ, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, กรอบความตกลงอาเซียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน และปัญหาอุปสรรคของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต่อการดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศ รวมทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่เคยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปต่างประเทศ 4 ราย  และผู้ประกอบการที่ไม่เคยมีการส่งออกไปต่างประเทศ 3 ราย โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า การปรับกฎระเบียบและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามมาตรฐานกรอบความตกลงอาเซียน ยังไม่เอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย และปัจจุบันผู้ประกอบการยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากปัญหาหลัก 3 ประการ คือ (1) ภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการทดสอบความคงสภาพ รวมถึงการปรับปรุงสถานที่และการจ้างบุคลากรเฉพาะทางที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้น (2) การขาดองค์ความรู้ ขาดคู่มือ และช่องทางการสื่อสารในการให้ข้อมูลที่เหมาะสม ตลอดไปจนถึงขาดการให้คำปรึกษาหรือตอบข้อสงสัยแก่ผู้ประกอบการ (3) การขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติตามกรอบความตกลงอาเซียน เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังเป็นโรงงานขนาดเล็กถึงกลาง มีข้อจำกัดด้านเงินทุน และไม่มีเป้าหมายที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปต่างประเทศ ในขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีการส่งออก และปฏิบัติตามแนวทางอาเซียนแล้วก็พบปัญหานโยบายการกีดกันทางการค้าที่กำหนดขึ้นเองในต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เห็นว่าการยกระดับมาตรฐานการผลิตตามกรอบความตกลงอาเซียนไม่ได้ช่วยสนับสนุนการส่งออกอย่างแท้จริง จึงไม่เห็นถึงความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้ยังพบปัญหาอื่นๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำของมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมกำกับระหว่างโรงงานภาครัฐและเอกชน การควบคุมการโฆษณา และขาดมาตรการในการสนับสนุนการขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศ เป็นต้น

References

กรแก้ว ไกรแก้ว. (2557). ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าบริการ สาขาโลจิสติกส์ ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน. วารสารรามคำแหงฉบับนิติศาสตร์, 3(2), 41-56.

กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). สรุปผลการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560–2565. https://www.moac.go.th/herbs-dwl-preview-451091791887

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564ก, 31 พฤษภาคม). ประกาศคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพร เรื่อง การแสดงชื่อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการขึ้นทะเบียนตำรับ แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการแสดงฉลาก และเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร.

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564ข, 1 ธันวาคม). ประกาศคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพร เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ค่าความบริสุทธิ์ หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้ง.

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565ก, 17 สิงหาคม). การลงนามความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาแผนโบราณและความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร.

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565ข, 8 กุมภาพันธ์). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562.

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2566ก, 26 กรกฎาคม). ประกาศคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพร เรื่อง วิธีควบคุมคุณภาพและข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สมุนไพร.

กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2566ข, 7 กรกฎาคม). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2566.

ชนิตร์นันท์ สุริยวิทยาเวช. (2562). จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สู่แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยด้วยการบูรณาการการศึกษาเกษตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 240-250.

ณัชชา พัฒนะนุกิจ, กนกรัตน์ ยศไกร, รัชนี จันทร์เกษ, วัชราภรณ์ นิลเพ็ชร์, และพรเพ็ญ ชวลิตธาดา. (2565). การสื่อสารสุขภาพเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร ทางสื่อออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารจันทรเกษมสาร, 28(2), 301-315.

ดารณี เพ็ญเจริญ. (2562). การพัฒนาการควบคุมกำกับดูแล ในการอนุญาตให้จำหน่ายสู่ตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย. วารสารอาหารและยา, 26(2), 20-42.

ธนัชพร อินโท. (2563). สถานการณ์และความพร้อมของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ พ.ศ. 2559 [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นาถรพี ตันโช และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2565). ศักยภาพการค้าชายแดนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ประกอบการไทยในพื้นที่ภาคเหนือ. วารสารเกษมบัณฑิต, 23(1), 13-27.

รักษ์สุดา ชูศรีทอง, ตฤณ ทิพย์สุทธิ์, และกัลยา มั่นล้วน. (2565). สมุนไพรที่สำคัญในยุคโควิดสำหรับประชาชนทั่วไป. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 293-300.

วิชัย โชควิวัฒน์. (2556). ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย : สถานภาพปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 11(3), 219-226.

ศิริทิพย์ ทองสมุทร. (2566). มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร [สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรสุรางค์ ธีระวัฒน์ และมยุรี ดิษย์เมธาโรจน์. (2563). การศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประเทศไทย ในการปฏิบัติตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยกรอบการกํากับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. วารสารอาหารและยา, 27(2), 87-100.

Association of Southeast Asian Nations. (2018, December 7). Policy & guidelines: Traditional medicines and health supplement product working group (TMHSPWG). ASEAN Main Portal. https://asean.org/our-communities/economic-community/standard-and-conformance/

Bhavani, G. S., Venkatesh, M. P., & Kumar, T. M. (2020). Nutraceutical regulations in ASEAN countries. Drug Invention Today, 13(7), 1019–1025.

Jayaraj, P. (2010). Regulation of traditional and complementary medicinal products in Malaysia. International Journal of Green Pharmacy, 4(1), 10-14.

Wang, S., Wang, J., Li, J., Wang, J., & Liang, L. (2018). Policy implications for promoting the adoption of electric vehicles: Do consumer’s knowledge, perceived risk and financial incentive policy matter?. Transportation Research Part A: Policy and Practice, 117, 58-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-06-2024