การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์ สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สำราญ กำจัดภัย ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จินดา ลาโพธิ์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, แนวคิดสมดุลภาษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสมดุลภาษา และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) จำนวน 71 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อสาร และแบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสถิติทีแบบไม่อิสระ (Dependent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-Way ANCOVA) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ที่มาและความสำคัญ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน การสอน และการวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ทำให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ทักษะ การสื่อสาร และเจตคติต่อวิชาภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ทักษะการสื่อสาร และเจตคติต่อวิชาภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

References

ณัชสุดา คำมุกชิก. (2558). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนคละชั้นระดับประถมศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดสมดุลภาษาและทฤษฎีคอนสตรัค ติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่าน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำทิพย์ วโรดมดำรง. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). การพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

วณิชชา สีหาวงษ์. (2560). การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับวิธีการสอนแบบซิปปาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2558). ระเบียบการวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์อักษรศิลป์.

สาคร ธงชัย. (2564). การส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 168-182.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ผลการประเมินการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558. สำนักงานทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3). สำนักงานมาตรฐานการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

หงษ์สา ดวงจันทร์โชติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการความรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อวยพร พันธ์อุดม. (2559). การศึกษาความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่น ในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อัจฉรา ใจสุต๊ะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาไทยตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

Shaw, D., & Hurst, K. (2012). A Balanced Literacy Initiative for One Suburban School District in the UnitedStates. Education Research International, 10(1), 1–9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-09-2024