การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรสู่การลดความเหลื่อมล้ำมิติเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • อัสฉรา นามไธสง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ศักดิ์ดา แสนสุพรรณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สันติ ผิวผ่อง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ญาณวิจา คำพรมมา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เทพกร ลีลาแต้ม ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วุฒิชัย รสชาติ ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจชุมชน, การลดความเหลื่อมล้ำ, น้ำมันหอมระเหย, วิสาหกิจชุมชนสมุนไพร, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการแปลงปลูกสมุนไพรสู่การเพิ่มศักยภาพการผลิต และ 2) สร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร และกลุ่มที่ได้รับประโยชน์โดยตรง และโดยอ้อม ในพื้นที่ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดเสวนากลุ่ม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการแปลงปลูกสมุนไพร มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ (1) ระบบบริหารจัดการแปลงสมุนไพรมาตรฐานแบบเกื้อกูลที่สามารถเพิ่มปริมาณการเพาะปลูก 2,321 ต้น/ไร่ คิดเป็น 4.00 เท่า (2) ระบบการจัดการกลุ่มบนฐานการผลิต และผลิตภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วม และ (3) การจัดการข้อมูลชุมชนสู่คู่มือองค์ความรู้ที่กระตุ้นการเรียนรู้ สู่การสร้างรายได้ของชุมชน และ 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันหอมระเหย ก่อเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ น้ำมันนวดสมุนไพร ถ่านหอมสมุนไพร และน้ำมันหอมระเหยสมุนไพร จากการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบนฐานข้อมูล ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลเกื้อกูลชุมชน และลดการพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก ก่อเกิดรายได้เฉลี่ยหลังมีโครงการ 53,785 บาท/ปี/ครัวเรือน ส่งผลให้จำนวนผู้มีรายได้น้อยกว่าเส้นความยากจนลดลง 0.14 เท่า ชี้ให้เห็นว่าการวิจัยในครั้งนี้ เกิดการลดความเหลื่อมล้ำมิติเศรษฐกิจ

References

กรมสุขภาพจิต. (2564, 3 กุมภาพันธ์). 5 สมุนไพรพื้นบ้านช่วยต้านโควิด-19. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30588.

เขมิกา สงวนพวก และจิตรลดา รอดพลอย. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านในตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 64–84.

คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) สกลนคร. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://skko.moph.go.th/dward/document_file/d_sawangdaendin/tender_file_name/20240308094733_106948905.pdf

โฆษิต ไชยประสิทธิ์. (2564). การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 173-188.

ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย. (2565). การขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทยในบริบทการแก้ปัญหารายได้ของชาวนาไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 64(3), 42–53.

เดชรัต สุขกำเนิด. (2564, 18–19 มกราคม). ตัวชี้วัดการลดความเหลื่อมล้ำสำหรับงานวิจัยเศรษฐกิจฐานราก (งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น). ใน วิจิตรา สุจริต (ประธาน), การประชุมเชิงปฏิบัติการหลักการออกแบบรายละเอียดตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเพื่อตอบเป้าหมายของโครงการและแนวทางในการเก็บข้อมูลความเหลื่อมล้ำมิติเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธวัชชัย พินิจใหม่, สุดารัตน์ แช่มเงิน, สาวิตรี รังสิภัทร์ และทิพวัลย์ สีจันทร์. (2560). การพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน นาโพธิ์ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 70-80.

บัญชา นวนสาย, เอกพล แสงศรี, เทพพร โลมารักษ์, คคนางค์ ช่อชู และภาวิดา แสนวันดี. (2566). นวัตกรรมการบริหารจัดการแปลงรวมในพื้นที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 18(2), 39-49.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 27 กุมภาพันธ์). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2560. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10855&filename=social

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร. http://e-book.acfs.go.th/Book_view/298

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565, 25 กุมภาพันธ์). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. https://www.nso.go.th/nsoweb/download/eyJwYXRoIjoic3RvcmFnZVwvc3VydmV5X2RldGFpbFwvMjAyM1wvMjAyMzA1MDMxOTMyMjFfOTY1OTIucGRmIiwiZmlsZW5hbWUiOiJmdWxscmVwb3J0X25lXzYzLnBkZiJ9

ศุลชัย สระทองหัก. (2565). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำ บ้านดอนทราย ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 75–95.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 192-202.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-06-2024