บทบรรณาธิการแถลง
บทคัดย่อ
วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) พ.ศ. 2566 เป็นวารสารระดับชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 โดยวารสารจันทรเกษมสารมีความมุ่งหวังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลทางการวิจัยและข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพสำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ วารสารฉบับนี้ได้นำเสนอบทความทั้งหมด 10 เรื่อง ที่มีประโยชน์ต่อวงวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประกอบไปด้วย
บทความวิชาการ จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้ 1) บทความวิชาการเรื่อง “แนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารในอนาคต” นำเสนอแนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหาร 4 เทคนิค ที่คาดการณ์ว่าจะเป็นเครื่องมือของการบริหารที่สำคัญในการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2) เรื่อง “การปรับวงดนตรีไทยตามแนวคิดองค์ประกอบดนตรี” ที่สะท้อนให้เห็นว่าการปรับวงดนตรีต้องอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อวางรูปแบบการบรรเลงดนตรีไทยให้เกิดความไพเราะเหมาะสม มีคุณภาพการบรรเลงที่ดีขึ้น
บทความวิจัย จำนวน 8 เรื่อง ดังนี้
1) เรื่อง “อิทธิพลของกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมต่อการสร้างประสบการณ์ตราสินค้าและความรักในตราสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารในประเทศไทย” ที่จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดประสบการณ์ต่อตราสินค้าในเชิงบวกและเกิดอารมณ์ความรักในตราสินค้า สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้บริโภค
2) เรื่อง “คุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครของอาสาสมัครชุมชน” ที่ศึกษาคุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครและความคาดหวังของอาสาสมัครชุมชนต่อค่าตอบแทนในงานอาสาสมัคร เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบและพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนงานอาสาสมัครทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
3) เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง” ที่ศึกษาปัญหาเชิงลึกเกี่ยวกับการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของผู้เรียนในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จนนำมาสู่การพัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้
4) เรื่อง “พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท” ที่ได้นำเสนอพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ และการกำหนดชนิดผักที่จะปลูกที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิสังคม
5) เรื่อง “การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนประถมศึกษา” ที่ได้สร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกร ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21
6) เรื่อง “รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบในบริบทจังหวัดพะเยา” สะท้อนให้เห็นรูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสถานศึกษา ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนซึ่งคณะครูเลือกอย่างอิสระจากแนวปฏิบัติที่ดีของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบริหาร R A L Model
7) เรื่อง “ผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างในตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท” ที่ได้นำแอปพลิเคชันการจัดทำบัญชีครัวเรือนไปใช้กับประชาชนในตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
8) เรื่อง “รูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี” เป้าหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบและหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี และสร้างแนวทางในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย
ทางกองบรรณาธิการขอขอบคุณเจ้าของบทความวิชาการและบทความวิจัยทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์ลงเผยแพร่ในวารสารจันทรเกษมสาร รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ในการพิจารณา กลั่นกรอง และให้ข้อเสนอแนะแก่เจ้าของบทความ เพื่อให้วารสารจันทรเกษมสารได้บทความที่มีคุณภาพสำหรับผู้ที่สนใจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว