การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ประเทศเกาหลีใต้ ผ่านแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมสู่ความเป็นเมืองภาพยนตร์ของจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เทพฤทธิ์ มณีกุล สาขาวิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรรัตน์ ดำรุง สาขาวิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Lowell Skar สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมภาพยนตร์, นิเวศวัฒนธรรม, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างแนวคิดใหม่ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองภาพยนตร์ดิจิทัล : การใช้วิถีนิเวศวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเป็นเมืองภาพยนตร์ที่ยั่งยืน” โดยเป็นการอภิปรายแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมที่มีต่อปัจจัยความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ถูกนำมาใช้ในการถอดบทเรียนเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การริเริ่มพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างเป็นเครือข่ายและเป็นระบบ โดยคำนึงถึงองค์รวมทั้งระบบนิเวศ เนื้อหาหลักของบทความเริ่มต้นด้วยการอภิปรายถึงสภาพการณ์ทั่วไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศเกาหลีใต้ จากนั้นเป็นการนำเสนอความสำคัญของแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งในมิติของศักยภาพของคน ศักยภาพของพื้นที่ การจัดการ และการมีส่วนร่วม เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจปัจจัยความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ประเทศเกาหลีใต้ในความเป็นเมืองภาพยนตร์ นำไปสู่การอภิปรายในส่วนสุดท้ายที่เป็นการประยุกต์แนวคิดดังกล่าวเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่สู่ความเป็นเมืองภาพยนตร์ในอนาคตผ่านรูปแบบการร่างข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์จากภาคประชาชน

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2566, 20 ธันวาคม). ความเป็นไปได้และความท้าทายของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในการมุ่งมั่นสู่ G7. https://www.ditp.go.th/post/157400

กองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ. (2566). การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย. https://sites.google.com/tfo.dot.go.th/filmingthailand-th/topic

เทพฤทธิ์ มณีกุล. (2567). การสร้างแนวคิดใหม่ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองภาพยนตร์ดิจิทัล : การใช้วิถีนิเวศวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเป็นเมืองภาพยนตร์ที่ยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, ดลยา เทียนทอง, จตุพร สุวรรณสุขุม, ซารีฮาน สุหลง, และภาณุรักษณ์ ต่างจิตร. (2564). แนวคิด โครงสร้าง และผลสัมฤทธิ์ของสภาภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักรและเกาหลีใต้. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 7(1), 40-58.

บีบีซี นิวส์ ไทย. (2563, 10 กุมภาพันธ์). ออสการ์ 2020: Parasite กวาด 4 รางวัลใหญ่ รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม. https://www.bbc.com/thai/international-51440199

พรรัตน์ ดำรุง. (2564). วิจัยการแสดง: สร้างความรู้ใหม่ด้วยการทำละคร. Fathom Bookspace.

พระมหาประพันธ์ สิริปัญโญ และจิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน์. (2560). นิเวศวิทยาวัฒนธรรม แนวคิดและการจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเลย (เอกสารทางวิชาการหมายเลข MCU RS 610760134). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย.

อมร ถุงสุวรรณ และชยุต ภาวภานันท์กุล. (2560). นวัตกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าเชิงคุณธรรมของธุรกิจภาพยนตร์ไทยเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ [งานวิจัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Brand Finance. (2023, January 18). Global Soft Power Index 2021: The World’s Most Comprehensive Research Study on Perceptions of Nation Brands. https://brandirectory.com/softpower/

Busan Film Commission. (2023, December 21). Busan Film Commission. www.eng.bfc.or.kr

Holden, J. (2015). The Ecology of Culture. Arts and Humanities Research Council.

Korea Creative Content Agency. (2023, January 29). KOCCA. https://www.kocca.kr/en/main.do

Korean Film Council. (2023, December 12). Korean Film Council. https://www.koreanfilm.or.kr

Korean Ministry of Culture, Sport, and Tourism. (2024, January 11). Business Plan. http://www.mcst.go.kr/english/policy/businessPlan.jsp

Markusen, A., & Gadwa, A. (2010). Creative Placemaking. National Endowment for the Arts.

Steward, J. H. (1977). Evolution and Ecology: Essays on Social Transformation. University of Illinois.

The International Trade Administration. (2023, December 5). South Korea: Country Commercial Guide. https://www.trade.gov/country-commercial-guides/south-korea-entertainment-and-media

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2024