การประยุกต์ใช้การวัดผลเชิงดุลยภาพในการบริหารจัดการงานกองคลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน ์ ภักดี
  • ปิ่นทอง บริสุทธิ์
  • อารมย์ ภู่พงศ์อนันต์

คำสำคัญ:

การวัดผลเชิงดุลยภาพ, กองคลัง,

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด องค์ประกอบสำคัญและรูปแบบของระบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยเครื่องมือ BSC ศึกษาปัญหาในด้านต่างๆ และยืนยันปัญหาที่เกิดขึ้นในกองคลัง รวมทั้งจัดทำรูปแบบการประเมินผลเชิงดุลยภาพ (BSC) และประยุกต์ใช้ใน การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของกองคลัง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประชากร คือ ผู้ใช้บริการกองคลังโดยสุ่มตัวอย่างมา 150 คน และบุคลากรภายในกองคลัง จำนวน 5 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการบันทึกภาคสนาม และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้มารวมทั้งแนวคิดทฤษฎีวิเคราะห์ผลการวิจัย โดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่กองคลังพบคือ ปัญหาด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการให้บริการข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งปัญหาการประเมินผลโดยนำปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อจัดทำรูปแบบการประเมินผล BSC ซึ่งประกอบด้วยมุมมองที่สำคัญ 4 มุมมอง คือ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต ซึ่งการนำไปปฏิบัติผู้วิจัยได้นำมุมมองด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโตไปปฏิบัติใน กองคลัง คือ โครงการฝึกอบรมบุคลากรที่ตรงกับสายงาน และโครงการจัดอบรมให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทดลองปฏิบัติ คือ ข้อจำกัดของจำนวนบุคลากรในเข้าร่วมการอบรมต่อครั้งและบุคลากรไม่สามารถถ่ายทอดความรู้และนำมาประยุกต์ใช้หลังจากการฝึกอบรมเป็นต้น นอกจากนั้นบุคลากรกองคลังได้ทำการยืนยันผลการวิจัยร่วมกัน ซึ่งกองคลังสามารถนำรูปแบบการวัดผลเชิงดุลยภาพ ทั้ง 4 มุมมอง มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้แต่ผู้บริหารจะต้องทำการอบรมภายในเพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจร่วมกันมากยิ่งขึ้นและให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งต้องการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติงานและเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกระบวนการดำเนินงานของกองคลัง

Downloads