ปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
คำสำคัญ:
ปัญหาและผลกระทบ, การบังคับใช้กฎหมาย, สถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ,บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยและต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรณีสถานการณ์อุทกภัยให้มีความเหมาะสมต่อไป ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ประมวลผล ตีความและสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีอยู่ 3 ประการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยทางธรรมชาติ ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้องไม่เป็นธรรม ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการศึกษาถึงการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ว่ามีความเหมาะสมในการบริการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารจัดการ เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบได้รวมตัวกันเพื่อฟ้องร้องภาครัฐและเจ้าหน้าที่รัฐโดยเห็นว่าภาครัฐล้มเหลวในการบริหารจัดการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเจตนารมณ์ของกฎหมายการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐสำหรับการควบคุมหรือการใช้กำลังทางทหารเพื่อปราบปรามการชุมนุมหรือการจัดการปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังสามารถใช้บังคับกับสาธารณภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีDownloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว