การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
การเรียนการสอนทางไกลการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์, ไวแม็กซ์,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน การดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายวิชาหลักภาษาไทย เรื่อง คำต่างประเทศในภาษาไทย แล้วนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 56 คน ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอนจากประชากร 536 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน (APPIE MODEL) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1.1 ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) 1.2 ขั้นวางแผนการเรียนการสอน (Planning) 1.3 ขั้นเตรียม ความพร้อม (Preparation) 1.4 ขั้นดำเนินการเรียนการสอน (Instruction) และ 1.5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) มีคุณภาพระดับมากที่สุด (4.53) 2) บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายวิชาหลักภาษาไทย เรื่องคำต่างประเทศในภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 86.18/85.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 85/85 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแม็กซ์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว