พฤติกรรมการบริโภคน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • พัชรี สุวรรณเกิด
  • พาชิตชนัต ศิริพานิช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด,

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์และบรรรจุภัณฑ์ของน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร ที่เคยบริโภคน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ ซึ่งมีขนาดตัวอย่าง จำนวน 315 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ค่าสถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบเป็นคู่และแบบไคสแควร์ และหาความสัมพันธ์อย่างง่ายโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-25 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  โดยส่วนใหญ่ดื่มน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ด้วยเหตุผล คือ เพื่อสุขภาพ และซื้อบริโภคด้วยความชอบส่วนตัว  เฉลี่ยดื่ม  3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปริมาณ 250 ซีซีต่อการดื่มแต่ละครั้ง  โดยดื่มแบบบรรจุขวดแช่เย็น ที่มีรสชาติหวาน และซื้อตามซุ้มจำหน่ายเครื่องดื่มในมหาวิทยาลัย ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่นักศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 3.98) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านราคา (ค่าเฉลี่ย 3.68) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย 3.45) และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย 3.42) ตามลำดับ จากผลการทดสอบการยอมรับในผลิตภัณฑ์ของน้ำสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้สูตรเฉพาะ 3 สูตร พบว่า คะแนนความชอบเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย เป็นดังนี้ คือ น้ำใบเตยผสมว่านหางจระเข้ (ค่าเฉลี่ย 7.47) น้ำอัญชันผสมว่านหางจระเข้ (ค่าเฉลี่ย 7.15) และน้ำองุ่นผสมว่านหางจระเข้ (ค่าเฉลี่ย 6.45) อีกทั้งยังพบว่าความคาดหวังของคุณภาพผลิตภัณฑ์น้อยกว่าการรับรู้ของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads