การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและฝ่ายบริหารกลุ่มงานวิชาการจำนวน 5 คน ครูผู้สอนจำนวน 158 คน นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนวัดสุทธิวราราม จำนวน 1,488 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผนเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการขั้นตอนที่ 3 การสังเกตและประเมินผลความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบพบว่าผลที่ได้จากการประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการที่เหมาะสม อยู่ในระดับมาก สรุปรูปแบบการบริหารการจัดการเรียน การสอนแบบมีส่วนร่วมได้ 9 กิจกรรม คือ 1) การได้รับสนับสนุนจากผู้บริหารในโรงเรียนเพื่อ มีการกำหนดนโยบายและมอบหมายอำนาจหน้าที่อย่างเป็นระบบ 2) การจัดอบรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน (Co-op Mission) 3) การจัดโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีการจัดแบ่งหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 4) การจัดทำแผนกลยุทธ์หรือคู่มือการปฏิบัติงานที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ 5) การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่าและเห็นถึงประโยชน์ของการบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอน นักเรียน โรงเรียนและผู้ปกครอง 6) การจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือและให้คำแนะนำร่วมกัน นำเสนอความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 7) การจัดการทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 8) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนตลอดจน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 9) การติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานในทุกโครงการอย่างต่อเนื่อง และนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานในครั้งต่อไปDownloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว