ความเสมอภาคหญิงชายในระบบราชการไทย : ความแตกต่างหรือความเหมือนในการบริหาร
บทคัดย่อ
“เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก” เป็นคำสอนที่ถูกถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่นในสังคมไทยอันเนื่องมาจากโครงสร้างของสังคมแต่เดิมที่ยกย่องให้ชายเป็นใหญ่ตั้งแต่ในอดีต ซึ่งแต่เดิมนั้นมองบทบาททางเพศ (sex role) ของผู้หญิงว่าอยู่ฐานะ "ช้างเท้าหลัง" และมองบทบาททางเพศของผู้ชายว่าเป็น "ช้างเท้าหน้า" นั่นคือบทบาทของผู้ชายเป็นผู้นำ และผู้หญิงมีบทบาทเป็นผู้ตาม โดยสังคมวางกรอบให้ผู้หญิงประพฤติปฏิบัติตามจารีตอย่างเคร่งครัด ต้องรักนวลสงวนตัว ในขณะที่ฝ่ายชายไม่ได้ถูกสังคมคาดหวังว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ ดังที่เราจะพบว่าสังคมไทยยกย่องผู้ชายที่มีภรรยาหลายคนว่า เก่งกล้ามีความสามารถ เช่น ขุนแผน เป็นต้น ในขณะที่สังคมไทยประณามผู้หญิงที่มีสามีหลายคนว่าเป็นคนที่ไม่ดี เช่น นางวันทอง โมรา กากี ฯลฯ แต่ในปัจจุบันสถานะทางเพศของหญิงไทยถูกกระแสความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ให้ผู้หญิงมายืนอยู่ แถวหน้าในการทำงานเช่นเดียวกับชายไทย โดยเฉพาะด้านการบริหารที่หญิงไทยได้แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ ความสามารถในการบริหารงานได้ไม่แพ้ชาย ทำให้หญิงไทยได้รับโอกาสในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงสุดของภาครัฐ ตั้งแต่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น ในปัจจุบันกฎหมายรัฐธรรมนูญนอกจากจะบัญญัติในเรื่องของการให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายเพิ่มมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนนามสกุล เมื่อผู้หญิงและผู้ชายแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกัน แต่เดิมผู้หญิงที่แต่งงานและได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ผู้หญิงจะต้องใช้นามสกุลผู้ชาย แต่ปัจจุบันผู้หญิงที่แต่งงานและจดทะเบียนสมรสแล้ว สามารถเลือกใช้นามสกุลเดิมของตนเองได้ และสิทธิอีกอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงได้รับ คือ ในอดีตนั้นผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว คำนำหน้าจะเป็นนาง แต่ปัจจุบันผู้หญิงสามารถเลือกใช้คำนำหน้าจากนาง เป็น นางสาวได้ ซึ่งการเพิ่มสิทธิเหล่านี้ทำให้เห็นถึงความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย จึงเป็นสิ่งที่น่าติดตามว่า เมื่อผู้หญิงมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันเช่นเดียวกับผู้ชายแล้ว ผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจะสามารถบริหารงานให้ได้รับความสำเร็จ เฉกเช่นเดียวกับชายได้หรือไม่
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว