การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเครื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ปัณณวิชญ์ แนวสูง
  • วารินทร์ รัศมีพรหม

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ประสิทธิภาพ, ดัชนีประสิทธิผล, ความพึงพอใจ,

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เครื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จำนวน 3 ห้อง รวมทั้งสิ้น 70 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เครื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบเกี่ยวกับความรู้เรื่องเครื่องดนตรีไทย ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.82 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาประสิทธิภาพ (E1/E2 )และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)

ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เครื่องดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/83.35  2) มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.65    3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อ การเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเครื่องดนตรีไทย อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.7, S.D. = 0.60) สรุปว่าบทเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง เครื่องดนตรีไทยมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เครื่องดนตรีไทย ควรมีเสียงของเครื่องดนตรีประกอบ      เมื่อผู้เรียนเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เครื่องดนตรีไทยแล้ว ควรให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้โดยการปฏิบัติจากของจริงเพื่อสร้างความประทับใจ และเป็นแนวทางในการเรียนรู้ที่สมบูรณ์

Downloads